กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

อากาศร้อนช่วยทำลายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้หรือไม่

ไขข้อสงสัย อากาศที่ร้อนขึ้นสามารถฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้หรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 24 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อากาศร้อนช่วยทำลายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้หรือไม่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ความร้อนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
  • เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อไวรัสที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดตามฤดูกาล ไม่ค่อยแพร่เชื้อมากในฤดูร้อน
  • ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก WHO ยืนยันว่า ที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส โคโรนาไวรัส จะตาย 10000 units ต่อ 15 นาที (ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว)ฃ
  • ในตอนนี้สิ่งที่คุณควรทำที่สุดคือ เก็บตัวอยู่บ้าน ดูแลความสะอาดร่างกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 
  • หากมีอาการเจ็บป่วยผิดปกติคล้ายกับอาการติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19)

จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ยังคงมียอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการนำยาที่มีการใช้แล้วพบว่า ประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาทำการรักษาในปัจจุบัน โดย 1) 

ยาเหล่านี้ได้แก่ ยาที่ใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย คือ chloroquine และ hydroxychloroquine 2) Remdesivir ซึ่งเป็นยาแอนตี้ไวรัส 3) Lopinavir และ Ritonavir ซึ่งเป็นยารักษาเอชไอวี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อีกคำถามน่าสนใจก็คือ ด้วยสภาพอากาศช่วงนี้ที่ร้อนขึ้นกว่าเดิม บางพื้นที่ถึงกับร้อนจัดและมีแสงแดดจ้าส่องลงมาอยู่ตลอดเวลา 

คำถามคือ อากาศที่ร้อนขึ้นเช่นนี้ จะสามารถป้องกัน หรือทำลายเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้หรือไม่

ความเกี่ยวข้องระหว่างฤดูร้อนกับการติดเชื้อไวรัส

หลายคนคงทราบดีว่า ความร้อนคือ หนึ่งในปัจจัยที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคก็ไม่ต่างกัน มีการศึกษาพบว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) เป็นเชื้อไวรัสอีกชนิดที่มีความใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสโควิด-19

โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล นอกจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แล้ว เชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนมากก็มักเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวด้วย

แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่ร่างกายมนุษย์อบอุ่น เชื้อไวรัสเหล่านี้จะไม่ค่อยเกิดขึ้น อีกทั้งแสงยูวี (Ultraviolet: UV) ที่อยู่ในแสงแดดรอบตัวคุณ ยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ไวรัสถูกทำลายได้เป็นอย่างดีด้วย

ทางองค์การอนามัยโลก WHO ได้ออกมายืนยันว่า ที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส โคโรนาไวรัส จะตาย 10,000 ยูนิตภายในเวลา 15 นาที ซึ่งเป็นการลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับฤดูร้อนในประเทศที่แม้จะมีแสงแดดจัดมาก แต่หากมีอุณหภูมิไม่ถึง 56 องศาเซลเซียส เชื้อโรคก็ไม่สามารถถูกกำจัดได้อยู่ดี

อากาศที่ร้อนขึ้นสามารถฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้หรือไม่?

คำตอบคือ ที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส สามารถฆ่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วฤดูร้อนของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ มีอุณหภูมิไม่ถึง 56 องศาเซลเซียส จึงไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ 

ดังนั้นแล้วเราควรจะป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส โดยการล้างมือให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือสบู่ และหลีกเลี่ยงการนำมือมาสัมผัสใบหน้าจึงจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด

สำหรับใครที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19) สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่สถานพยาบาลที่ให้บริการ มีทั้งการตรวจที่โรงพยาบาล และตรวจด้วยระบบ Drive Thru ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว สามารถรู้ผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง

ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโควิด-19

  • ควรเก็บตัวอยู่ในบ้าน อย่าเพิ่งออกไปพบปะผู้คนข้างนอก 
  • ติดต่อเรื่องสำคัญต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากคนข้างนอก
  • หมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ 

ทางที่ดีคุณควรปฏิบัติตามแถลงการณ์ของหน่วยงานสาธารณสุข หมั่นรักษาความสะอาด ใช้เจลล้างมือ หรือฟอกมือด้วยสบู่ น้ำยาล้างจานเป็นประจำ 

หากรู้สึกว่า ตนเองมีอาการเจ็บป่วยที่คล้ายกับอาการของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้รีบบอกคนใกล้ชิดให้ทราบและไปโรงพยาบาล เพื่อขอให้แพทย์วินิจฉัยอาการโดยด่วน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization, First data on stability and resistance of SARS coronavirus compiled by members of WHO laboratory network (https://www.who.int/csr/sars/survival_2003_05_04/en/), 28 March 2020.
LAKSHMAN P. SAMARANAYAKE, Severe acute respiratory syndrome and dentistry (https://jada.ada.org/article/S0002-8177(14)62542-3/pdf), 28 March 2020.
K. H. Chan, The Effects of Temperature and Relative Humidity on the Viability of the SARS Coronavirus (https://www.hindawi.com/journals/av/2011/734690/), 28 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)