January 25, 2017 22:40
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
"ต้องดูว่าอาการนั้นเกิดจากสาเหตุใดและแก้ที่ต้นเหตุค่ะ อาการไอหรือระคายคอนอกจากจะเกิดจากระบบทางเดินหายใจโดยตรงแล้วยังเกิดจากระบบอื่นได้อีก เช่น ทางเดินอาหาร หรือ การใช้เสียงผิดวิธี มีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้
(1) ระบบทางเดินหายใจ
1.1) โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้
1.2) ไซนัสอักเสบ เนื่องจากโรคนี้มีการอักเสบของเยื่อบุจมูก และไซนัส ซึ่งจะกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในโพรงจมูก ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอได้
1.3) โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคหืด โรคทั้งสองดังกล่าวนี้ มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งสามารถกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในเยื่อบุหลอดลม ทำให้มีเสมหะในหลอดลม และคอ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกระแอมได้
(2) ระบบทางเดินอาหาร
2.1) ความผิดปกติทางกายวิภาคของคอ เช่น ต่อมทอนซิลที่ใหญ่มาก หรือลิ้นไก่ที่ยาวมาก ทั้งต่อมทอนซิล หรือลิ้นไก่ อาจไปสัมผัสกับฝาปิดกล่องเสียงเวลากลืน เกิดความรู้สึกระคายเคืองบริเวณลำคอ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกระแอมได้
2.2) การติดเชื้อเรื้อรังบริเวณคอ
2.3) เกิดจากการระคายเคือง และ/หรือการบาดเจ็บเรื้อรังบริเวณลำคอ เช่น การสัมผัสสารเคมี, มลพิษ, สารระคายเคือง เนื่องจากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารเคมี
2.4) การดื่มน้ำไม่เพียงพอ, อายุที่มากขึ้น หรือเคยได้รับการฉายรังสีบริเวณลำคอมาก่อน ก็อาจทำให้ผนังลำคอแห้ง และก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณลำคอ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกระแอมได้
2.5) โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง
3. สาเหตุอื่นๆ
3.1) ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACEI) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
3.2) ความผิดปกติของระบบประสาท
3.3) การใช้เสียงผิดวิธี การที่ใช้เสียงในการพูดมาก มักทำให้ผู้พูดต้องหายใจทางปาก คล้ายกับการออกกำลังกายให้เหนื่อย ซึ่งจะมีการหายใจทั้งทางจมูก และปาก จมูกซึ่งมีหน้าที่ปรับอากาศที่หายใจเข้าไปให้อุ่น และชื้น ขึ้น และกรองสารระคายเคืองต่างๆในอากาศก่อนเข้าสู่ลำคอ จึงไม่ได้ทำหน้าที่ ทำให้อากาศที่ผ่านลำคอ แห้ง และเย็น ร่างกายอาจปรับตัว โดยสร้างเสมหะในคอขึ้นมามากขึ้น เพื่อทำให้ผนังคอชุ่มชื้นขึ้น และสารระคายเคืองต่างๆในอากาศ อาจเข้าไปสัมผัสกับลำคอโดยตรง และไปกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะให้ทำงานมากขึ้นได้ นอกจากนั้นการใช้เสียงอย่างมาก อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ และกล่องเสียง ถูกใช้งานหนัก เกิดการระคายเคืองบริเวณคอ และกล่องเสียงได้โดยตรง เสมหะในคอที่มากขึ้น และการระคายเคืองดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกระแอมได้
4. สาเหตุจากนิสัย หรือการเรียนรู้ที่ผิดของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยมีเสมหะในลำคอ ที่จะต้องกระแอม เพื่อกำจัดเสมหะนั้น ผู้ป่วยจะมีความไวต่อการรู้สึกว่ามีเสมหะในลำคอมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ต้องกระแอมบ่อยๆ แม้ว่าจะมีปริมาณเสมหะในลำคอไม่มากก็ตาม ซึ่งการที่ต้องกระแอมบ่อยๆจะทำให้เกิดการระคายเคืองของคอ มีปริมาณของเสมหะในคอเพิ่มมากขึ้น สายเสียงของผู้ป่วยจะกระแทกกันมากขึ้น ทำให้สายเสียงบวม และระคายเคืองมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยยิ่งรู้สึกว่ามีอะไรอยู่ในลำคอมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต้องกระแอมมากขึ้นไปอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์ (vicious cycle) ถ้าไม่ต้องกระแอมบ่อยมากนัก เสมหะในคอก็จะค่อยๆลดน้อยลงไปเอง จนไม่ต้องกระแอมอีกต่อไป ซึ่งแพทย์มักจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีสาเหตุนี้ หลังจากได้ทำการตรวจหาสาเหตุทุกอย่างแล้ว แต่ไม่พบสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกระแอมกล่าวคือได้วินิจฉัยแยกโรค หรือสาเหตุอื่นๆออกไปแล้วนั่นเอง
"
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น
ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก
เวลากลื่นน้ำลายรู้สึก
ระคายคอเหมือนมีอะไรติดที่คอตลอกเวลา
และหายใจไม่ค่อยสะดวก
มีอาการไอ รู้สึกเหมือนคันในลำคอ ไม่มีอาการตัวร้อน น้ำมูกไหล เจ็บคอ เสมหะ ค่ะ
เป็นแบบนี้มาประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ขอปรึกษาน่อยค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ไอระคายเคืองคอหลายวันแล้วต้องทำยังไงค่ะ
ไอระเคายเคืองคอมาหลายวันแล้วค่ะไม่หายสักที
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ระคายคอมาหลายวันแล้วทำอย่างไรได้คะ
ระคายคอมาหลายวันแล้ว ทำอย่างไรจะหายคะ
มีอาการไอระคายคอไม่หาย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)