January 25, 2017 20:48
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
โรคเก๊าท์ เป็นโรคของความผิดปกติของกรดยูริค เกิดผลึกยูริคสะสมอยู่ภายใน และภายนอกข้อ ทำให้เกิดการอักเสบของข้อชนิดเป็น ๆ หาย ๆ โรคนี้พบในอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ข้อที่พบว่าเกิดโรคบ่อย คือ ข้อนิ้วหัวแม่มือและหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อนิ้วมือ และข้อมือ สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบ แต่พบว่าเนื่องจากมีกรดยูริคในเลือดสูง ซึ่งกรดยูริคในร่างกายได้มา 2 ทาง คือ
จากอาหาร ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ปราซาดีน ขนมปังหวาน ปู กุ้ง หอย ดอกกระหล่ำ เห็ด และผักโขม เป็นต้น
และจากร่างกายสร้างขึ้นมาเอง
การรักษา คือ รับประทานยาค่ะ เพื่อต้านการอักเสบ และป้องกันการอักเสบของข้อ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
-ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์
-เนื้อสัตว์ ปลาซาดิน ขนมปังหวาน ปู กุ้ง หอย
-ดอกกระหล่ำ เห็ด หน่อไม้และผักโขม เป็นต้น
-ควรควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วนจนเกินไป ต้องระวังการขาดสารอาหาร และพลังงานพวกคาร์โบไฮเดรต
-งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพระจะทำให้การขับถ่ายกรดยูริคน้อยลง
-ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย 2-3 ลิตร/วัน ประมาณ 8-10 แก้ว ช่วยขับถ่ายกรดยูริคและป้องกันการเกิดนิ่วในไต
-ควรระวังเรื่องอุบัติเหตุที่จะเกิดแก่ข้อ
-ควรเข้าใจโรคเก๊าท์เป็นโรคเรื้อรัง แต่สามารถควบคุมได้ ถ้ารับประทานยาและปฏิบัติตนได้ถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดพิการของข้อ และสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาทั่วไปได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
รับประทานผลไม้และผัก โดย ยกเว้นยอดผักเพราะมีพิวรีนสูงค่ะ รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่
ดื่มน้ำสะอาด มากๆ เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะค่ะ รับประทานเต้าหู้เป็นประจำ เพราะเต้าหู้จะช่วยขับยูริคได้ดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อาหารเผื่อสุขภาพ ลดอาการจากโรคเก๋า
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)