April 14, 2017 14:45
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
สาเหตุของอาการปวดเข่า ได้แก่ จากอุบัติเหตุ ข้อเข่าติดเชื้อ ข้อเข่าเสื่อมหรืออักเสบ
ในกรณีของคุณแม่อาจเกิดจากปัญหาข้อเข่าเสื่อมค่ะ อาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่
- อาการในระยะแรก ปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได นั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัดโดยเฉพาะหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน มีเสียงดังในข้อเวลาขยับ
- อาการในระยะรุนแรง ระดับการปวดมากขึ้น อาจปวดกลางคืน คลำส่วนกระดูกงอกได้ มีอาการเสียวที่ลูกสะบ้าเวลางอเหยียดเข่า หากมีอาการอักเสบข้อเข่าจะบวม ร้อน หากเป็นมากๆ อาจทำให้ไม่สามารถงอหรือเหยียดสุดได้ มีข้อเข่าผิดรูป เช่น เข่าโก่ง
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเพื่อถนอมข้อเข่า , การใช้ยาและการฉีดยา , การผ่าตัด
หากมีอาการปวดรุนแรงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทางการแพทย์ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฟติกรรมเพื่อถนอมข้อเข่า โดยการไม่นั่งงอ/พับเข่าเป็นเวลานาน ควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ บริหารกล้ามเนื้อต้นขา(โดยให้นั่งบนเก้าอี้ นั่งให้เต็มก้น งอเข่าทั้งสองข้างก่อน จากนั้นค่อยๆ ยกขาข้างหนึ่งจนเหยียดตรง เกร็งค้างไว้ นับ 1-10 แล้ววางขากับพื้น สลับขาซ้ายขวา ทำ 20-30 ครั้งต่อรอบ วันละ 2-3 รอบ ) หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องหมุนหรือลงน้ำหนักที่ข้อเข่า เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เทนนิส แบดมินตัน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินและกายภาพบำบัด อุปกรณ์พยุงข้อหรือสนับเข่า ใช้ในกรณีที่ข้อเสื่อมมาก(ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อลีบลงได้)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
คุณแม่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อเข้าเสื่อม
การบำบัดโรคเข่าเสื่อม แบ่งเป็นการใช้ยากับไม่ใช้ยา
1.การบำบัดโดยไม่ใช้ยา (Nonpharmocologic therapy)
-ให้ความรู้กับผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วย ในประเด็นต่อไปนี้ เช่น ปัจจัยการเสี่ยงโรค วัตถุประสงค์การรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-การลดน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกาย มากกว่า 23กก/ตร.ม ควรลดให้อยู่ในระดับปกติ หรือลดให้ได้ร้อยละ5 ของน้ำหนักตัวเดิม
-ฟื้นฟูสมรรถภาพเข่า ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตประจำวัน เช่นเลี่ยงการงอเข่า คุกเข่า หรือขัดสมาธิ แนะนำการเดินขึ้นลงบันไดอย่างจำเป็น
-อาจจะใช้อุปกรณ์พยุงเข่าช่วย ในผู้ป่วยที่ข้อเข่าไม่มั่นคง มีขาโก่ง หรือขาฉิ่ง เพื่อลดอาการปวด เพิ่มความมั่นคงของเข่า และลดความเสี่ยงของการล้ม
-การบริหารบำบัด (Therapeutic exercise) ขึ้นอยู่กับบุคคลและระยะของโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อรอบๆข้อ เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวและลดการติดของข้อแบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ กายบริหารแบบใช้ออกซิเจนแรงกระแทกต่ำ เช่นการเดิน การปั่นจักรยาน การออกกำลังในน้ำ เพื่อป้องกันแรงที่กระทำต่อข้อเข่ามากเกินไป กายบริหารงอเหยียดข้อเข่า เพื่อป้องกันการยึดติดของข้อ และการบริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขา
2.การรักษาบำบัดด้วยยา
-ใช้ยาบรรเทาปวดเช่น ยาพาราเซตามอล ยาNSAIDs แต่ต้องระวังผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร และระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด
-ใช้ยาทาภายนอก หรือเจลพริกทดแทนการกินยาแก้ปวดได้
-การฉีดยาเข้าข้อ ,ยากลูโคซามีน ยังไม่มีคำแนะนำต้องพิจารณาเป็นรายๆไป
3.การรักษาโดยการผ่าตัด
-แนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ในผู้ป่วยที่อาการปวดไม่บรรเทาเท่าที่ควร รวมทั้งการทำงานไม่ดีขึ้นเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆข้างต้นแล้ว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
แม่ปวดหัวเข่ามากจะทำไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)