November 18, 2019 20:18
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
หมอขอตอบไล่ไปตามคำถามนะครับ
1. การรักษาหูดหงอนไก่นั้นจะเป็นเพียงกำจัดรอยโรคภายนอกออกไปเท่านั้น ส่วนเชื้อ HPV นั้นอาจจะยังคงมีหลงเหลืออยู่ที่ผิวหนังซึ่งก็ต้องรอให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมากำจัดเชื้อออกไปเอง ในระหว่างนี้จึงยังมีโอกาสที่จะเป็นหูดหงอนไก่ซ้ำได้ครับ เพียงแต่ว่าโอกาสที่ที่หูดจะกลับมาเป็นซ้ำก็ยังมีน้อยกว่ากรณีที่กลับไปมีเพศสัมพันธ์แบบมีความเสี่ยงอีกครั้งครับ
2. เชื้อ HPV ไม่ได้ใีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งทวารหนักอย่างชัดเจนครับ แต่การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักและการถ่ายอุจจาระยากบ่อยๆอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้ง่ายจากการที่มีแผลที่บริเวณทวารหนักอยู่บ่อยๆครับ
3. ในปัจจุบันไม่มีการตรวจหาเชื้อ HPV สำหรับผู้ชาย จึงไม่จำเป็นต้องตรวจครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ของคุณครับ
เป็นไปได้มั้วครับถ้าเชื้อหูดตรงภายนอกทวารหายแล้ว แต่อาจจะมีหูดเกิดขึ้นภายในทวารหนักที่มองไม่เห็น ทำให้ถ่ายหนักลำบากครับ ตอนนี้ผมมีข้อกังวล 2 ข้อคือ
1.มะเร็งทวารหนัก
2.หูดภายในทวารหนักที่มองไม่เห็น
เพราะหลังแผลภายนอกหายคือ ผมมีอาการถ่ายหนักที่ไม่ปกติคือ ถ่ายลำบาก ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอาการอยากถ่ายหนัก แต่พอไปนั่งเบ่งก็คือ ออกไม่เยอะ รู้สึกปวดตึงเลยเครียดครับ ขอคำแนะนำหน่อย
สวัสดีครับ ผมเจอติ่งเนื้อปากทวาร จึงไปพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยว่าผมเป็นหูดหงอนไก่ จากนั้นก็ทำการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV และ ซิฟิลิส พบว่า ค่าเลือดปกติไม่มีการติดเชื้อใดๆ แล้วหมอก็ให้ยาทา มาทาเองที่บ้าน 2-3 วัน เกือบสัปดาห์แผลก็เริ่มดีขึ้นครับ ติ่งทั้งหมดหลุดแล้วครับ มีข้อกังวลคือ 1.ผมมีโอกาสกลับมาเป็นอีกไหมครับ ถ้าไม่กลับไปทำพฤติกรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดหูดอีก 2.ที่ผ่านอ่านในเว็บ ผมมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งทวารหนักไหมครับ? (ผมอายุ 24 ปี) 3.ผมจำเป็นต้องตรวจเชื้อ HPV หรือไม่ครับ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)