March 22, 2017 19:32
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ค่ะ ได้แก่
- 6-8 สัปดาห์ทารกจะดิ้นเบาๆ ซึ่งคุณแม่อาจจะไม่รับรู้ถึงความรู้สึกได้
- 18-20สัปดาห์ ทารกจะดิ้นแรงขึ้นจนคุณแม่รับความรู้สึกได้ ทารกในช่วงวัยนี้จะดิ้น ประมาณ 200 ครั้ง/วัน
- 30-32 สัปดาห์ ลูกจะดิ้นประมาณ 370-700 ครั้ง/วัน ช่วงนี้การดิ้นจะสม่ำเสมอค่อนข้างคงที่
วิธการนับ การดิ้นคือการ กระทุ้ง ถีบ เตะ หมุนตัว โก่งตัว นับเป็น 1 ครั้งได้ **จะไม่นับการตอด หรือการสะอึกนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การนับลูกดิ้น
การที่มารดารู้สึกลูกดิ้น เป็นวิธีที่เก่าแก่ ประหยัดที่ใช้กันมานานในการบอกถึงสุขภาพของทารกในครรภ์ เพราะมารดาสามารถรับรู้การดิ้นหรือเคลื่อนไหวของทารกได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สองและจะรู้สึกชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ในไตรมาสที่ 3 ดังนั้นถ้ามีปัญหาที่เกิดขึ้นฉับพลัน คนที่จะบอกได้ดีที่สุดคือมารดา โดยอาศัยการนับลูกดิ้น ดังนั้น การทำให้มารดาเห็นความสำคัญและใส่ใจต่อการนับลูกดิ้นอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอนั้นจึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่สตรีตั้งครรภ์ต้องออกมาทำงานนอกบ้าน ทำให้ลืมหรือไม่มีเวลาสนใจนับลูกดิ้น เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่สตรีตั้งครรภ์มาด้วยลูกไม่ดิ้น ส่วนใหญ่ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์แล้ว ดังนั้นถ้าให้ความสำคัญตั้งแต่ลูกดิ้นน้อยลงปัญหาทารกเสียชีวิตในครรภ์ก็จะลดลง และจะสามารถช่วยชีวิตทารกเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที โดยแนะนำให้นับลูกดิ้นในสตรีตั้งครรภ์ทุกราย
วิธีนับลูกดิ้น มีหลายวิธี
-นับจำนวนเด็กดิ้นจนครบ 10 ครั้ง ในเวลา 4 ชั่วโมง ซึ่งนิยมให้นับในช่วงเช้า 8.00-12.00 น. ถ้ามีความผิดปกติ ในตอนบ่ายให้มาพบแพทย์ทันที ข้อดีคือถ้ามีปัญหาจะสามารถให้การดูแลได้ทันท่วงที
-นับลูกดิ้น 3 เวลาหลังมื้ออาหาร ครั้งละ 1 ชั่วโมง ถ้าน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง แปลผลว่าผิดปกติ และถ้านับต่ออีก 6-12 ชั่วโมงต่อวัน รวมจำนวนครั้งที่ดิ้นใน 12 ชั่วโมงต่อวัน เรียกว่า “daily fetal movement record (DFMR)” ถ้าน้อยกว่า 10 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ
การที่ลูกดิ้นน้อยลง หมายถึงทารกอยู่ในภาวะอันตราย มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าหากมารดาพบว่า ทารกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นไม่ว่าเป็นเวลาใดของแต่ละวัน ให้มาพบแพทย์ทันที และควรมีการบันทึกการดิ้นของทารกในแต่ละวัน ซึ่งทำให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสามารถประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
ภาวะลูกดิ้นเยอะ หมายถึง ทารกเคลื่อนไหวมากกว่า 40 ครั้งต่อชั่วโมง ในปัจจุบันถือว่าไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ยังไม่มีการศึกษาที่ระบุว่ามีอันตรายใด ๆ ต่อทารกในครรภ์
ภาวะลูกดิ้นน้อย
ลูกดิ้นน้อยจะสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจน การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะเครียดของทารกและทารกเสียชีวิตในครรภ์ การเคลื่อนไหวของทารกเป็นการตอบสนองของระบบประสาทสั่งการต่อภาวะขาดออกซิเจน แต่การที่มารดารู้สึกลูกดิ้นน้อยไม่ได้หมายความว่าทารกอยู่ในภาวะอันตรายเสมอไป บางที่เกิดจากปัญหาการรับรู้ลูกดิ้นของมารดาเองที่อาจเกิดจาก อายุครรภ์ที่ยังน้อยไป ปริมาณน้ำคร่ำที่มากและน้อยผิดปกติ ท่าทางของมารดาขณะที่รับรู้ เช่น ท่านั่ง นอนหรือยืน ตำแหน่งของทารกในครรภ์มาดาโดยเฉพาะส่วนหลังของทารก รกเกาะด้านหน้า เวลาที่มารดามีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมอื่นอยู่ทำให้ไม่ได้ตั้งใจสังเกตลูกดิ้น หรือบางครั้งอาจเกิดจากทารกหลับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
การนับลูกดิ้นแต่ล่ะมื้อเนี่ยค่ะต้อฃนับตั้งแต่ตอนไหนกี่ชั่วโมงต่อครั้ง แร้วจะขีดที่ช่องในสมุดสีชมพูยังไง ยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรยค่ะ
กำจัดขนรักแร้วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 96 บาท ลดสูงสุด 95%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เมื่อวานลูกดิ้นปกติ แต่วันนี้ยังไม่ดิ้นเลย จะเป็นไรป่าวคะ
แล้วจะขีดที่ช่องในสมุดสีชมพูยังไงยังไม่เข้าใจรายละเอียดเลยค่ะ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ลูกควรดิ้นกี่ครั้งต่อวันค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)