January 24, 2017 20:20
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
อาการของโรคไตมักไม่ค่อยปรากฏอาการให้เห็นครับ เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่มีความสามารถพิเศษในการปรับระบบการทำงาน ให้สมดุล แม้ว่าความสามารถในการทำงานของไตจะเหลือเพียงร้อยละ ๕๐ ของภาวะปกติ แต่ถ้าการทำงานลดต่ำลงมาเหลือร้อยละ ๒๐ ก็จะเริ่มปรากฏอาการต่างๆ ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ซีด บวมตามใบหน้า แขนขา ซึ่งอาการเหล่านี้อาจคล้ายกับอาการของโรคหัวใจได้ด้วยครับ จึงจำเป็นต้องตรวจร่างกาย เพื่อความแน่ชัด เช่นมีความดันโลหิตสูง มีอาการบวม และซีดหรือไม่ รวมทั้งตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ประจำปี เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรวดเร็วครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
โรคไตเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เกิดจากการที่ไตถูกทำลายช้า ๆ อย่างต่อเนื่องใช้ระยะเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่เป็นการทำลายอย่างถาวร ไม่สามารถฟื้นกลับมาทำงานได้ตามปกติอีก โรคที่ทำลายไตจนเป็นไตเรื้อรังที่พบบ่อยได้แก่เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ เมื่อเนื้อไตถูกทำลายการทำงานก็เสื่อมหน้าที่ลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น
•ความวามดันโลหิตสูง
•ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
• เบื่ออาหาร ผอมลง
• ซึม สับสน จนบางครั้งเกิดอาการชัก
• กระดูกเปราะบาง
นอกจากนี้ โรคไตเรื้อรังยังทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดแข็งตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ง่ายและเร็วขึ้นอีกด้วย เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย ทำให้ผู้เป็นโรคไตไม่ทันสังเกตอาการ จนกระทั่งหน้าที่ไตเสื่อมไปมากแล้วอาการรุนแรงจึงปรากฎให้เห็นชัดเจน ซึ่งนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ แต่ก็เป็นโรคไตเรื้อรังที่ใกล้ระยะสุดท้ายของโรคแล้ว ต้องใช้วิธีทำไตเทียม หรือปลูกถ่ายไตเพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยและยืดชีวิตผู้ป่วยต่อไปได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อาการของคนเป็นโรคไต เป็นอย่างไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)