February 04, 2017 10:50
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า สายตาคนแก่กับสายตายาวคือพวกเดียวกัน แต่ไม่ใช่นะครับ
สายตาสั้น กับสายตายาว เป็นความผิดปกติ ของโครงสร้างลูกตา ที่ยาว สั้นมากน้อยต่างกันเมื่อเทียบกับการรวมแสงของเลนส์ตาและกระจกตา ซึ่งส่งผลทำทำให้โฟกัสของภาพ ที่ผ่านเข้าตามาแล้ว ไปตกที่ระยะที่ สั้น หรือ ยาว กว่าจอรับภาพปกติ
ส่วนอีกโรค คือ สายตาคนแก่อันนี้ หลายคน มักจะไปสับสนกับสายตายาว แต่ว่าเป็นภาวะที่ กล้ามเนื้อที่ช่วยปรับความหนาของเลนส์ตา มันเสื่อมสภาพไป ตอนอายุมากขึ้น ทำให้เวลาอ่านหนังสือใกล้ๆ ซึ่งคนปกติ กล้ามเนื้อรอบๆเลนส์ตา จะดึงปรับให้เลนส์ตาปรับตัวให้โป่งนูนขึ้นเพื่อเพิ่มให้โฟกัสตกพอดีกับจอภาพได้
คนแก่เมื่อมันเสื่อมไป ก็ทำให้โฟกัสไม่ค่อยได้เวลาอ่านหนังสือ ต้องเอาออกห่างๆตัวหน่อย เหมือนต้องมองไกลๆ คล้ายๆคนสายตายาว(แต่ว่าจริงๆ ระยะห่างมันไม่ได้มากเหมือนพวกที่สายตายาวดูกันปกติ )ภาวะนี้ พบได้ในคนอายุมากหน่อยแถว 40 กว่าๆขึ้นไปแล้ว
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า บางคน ที่สายตาสั้นซึ่งต้องใช้แว่นสายตาสั้น(ซึ่งเป็นเลนส์เว้า)อยู่ประจำตลอดมา พอแก่ตัวลง อายุเริ่มเข้าสู่แถวช่วง สี่สิบกว่าๆไป เริ่มมีภาวะตาคนแก่ พวกนี้ ก็เลย จะเกิดภาวะทั้งสองอย่างผสมกัน คือ สายตาสั้น คือมองไกลก็ไม่ชัด ต้องใส่แว่นเลนส์เว้าแต่พอจะอ่านหนังสือใกล้ๆ ก็มองไม่ชัดอีกเพราะว่าตาโฟกัสเพิ่มไม่ได้ จากภาวะตาคนแก่ด้วย กลายเป็นต้องมีแว่นสองอัน
ดังนั้น คนที่สายตาสั้น เมื่อแก่ตัวลา ก็จะมีทั้งภาวะสายตาสั้นเดิม บวกกัน ภาวะสายตายาวของคนแก่ด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากสายตาสั้น มีโอกาศไหมคะว่าในระยะเวลานาน. ถึงช่วงวัย40-50 สายตาจะกลับมาเป็นปกติ อย่างที่เคยได้ยินมา
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)