January 24, 2017 15:06
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ หรือที่มักเรียกกันว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease=มีเนียร์ ดีซีส) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน พบได้ค่อนข้างบ่อยในคนทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 20-50 ปี โดยเพศชายและเพศหญิงจะมีอัตราการเกิดโรคนี้ในสัดส่วนที่พอๆ กัน หูชั้นในของคนเรามีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยินอยู่ โดยปกติจะมีน้ำในหูชั้นใน ปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยินดังกล่าว และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อใดก็ตามมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทำให้เซลล์ดังกล่าวทำงานผิดปกติ และเกิดอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน
อาการที่พบได้แก่เวียนศีรษะ บ้านหมุน ซึ่งมักจะเป็นอาการเวียนศีรษะรุนแรงและมีความรู้สึกหมุนร่วมด้วย บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมกับการสูญเสียสมดุลของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เซหรือล้มได้ง่าย ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะนานเป็นนาทีจนถึงหลายชั่วโมงเลยก็ได้ หรือรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวหมุน และการได้ยินลดลงหรือหูอื้อ ค่ะ
การใช้ยารักษาตามอาการตามแพทย์สั่ง รวมถึงการผ่าตัด สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้จากการใช้ยา
ในกรณีที่มีอาการเวียนศีรษะ ควรให้ผู้ป่วยนอนพัก เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในการหกล้มได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
แนวทางการรักษาโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ
-การใช้ยารักษาตามอาการตามแพทย์สั่ง
-การผ่าตัด สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้จากการใช้ยา แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัด
ข้อควรปฏิบัติสำหรับโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ
-รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่และถูกต้องตามหลักอนามัย
-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็มจัด ควบคุมปริมาณเกลือไม่ให้มากเกินไป
-หลีกเลี่ยงกาแฟ ช็อกโกแลต และอาหารที่มีคาเฟอีน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อนมากๆ เช่น ทำงานติดต่อกันนานเกินไป หรือออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป
-หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น ความเครียด
-ในรายที่เกิดอาการเวียนศีรษะทันทีโดยไม่มีอาการเตือน ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเสี่ยงอันตราย เช่น การขับขี่ยานพาหนะ การปีนป่ายที่สูง ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากทราบว่าอาการน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากสาเหตุอะไรบ้างคะ พอดีคุณแม่เป็นอยู่ แต่ไปคลินิกหมอบอกไม่เป็นอะไรมาก ฉีดยาและให้กลับบ้าน. วิธีดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้นและหาย ควรทำอย่างไรบ้างคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)