January 23, 2017 15:22
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
"ไม่หายคะ มีแต่ช่วงโรคสงบและกำเริบเท่านั้น หากเกิดในเด็กชายผลการรักษาหรืออัตราการรอดชีวิตจะน้อยกว่าเด็กหญิง นอกจากนั้นระยะของโรคไตที่เป็นแต่ละระยะก็มีอัตราการรอดชีวิตต่างกัน
การปฎิบัติตัวทั่วไปมีดังนี้
1. ต้องติดตามการรักษาต่อเนื่อง ช่วงแรกที่หมอจัดยาให้หลายตัวและขนาดสูง มันอาจทรมานกับอาการข้างเคียงมาก แต่อย่าหยุดหรือลดยาเองเด็ดขาด อาจทำให้โรคแย่ลงหรือจากภาวะสงบกำเริบได้
2. งดเค็มเพราะโซเดียมในความเค็มทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้แนะงดน้ำปลาค่ะ แล้วใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ รวมถึงผงชูรส ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น
3. ถ้าโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมาก อาจต้องทานไข่ขาวเอาโปรตีนเสริม
4. ถ้าทานยาขับปัสสาวะที่มีผลทำให้โปแตสเซียมต่ำ (เช่น Lasix)ก็ควรทานกล้วยน้ำว้าวันละลูก (เพราะกล้วยน้ำว้ามีโปแตสเซียมสูง)
ที่สำคัญต้องดูแลตัวเองเคร่งครัดเรื่องอื่นๆด้วย (หลบแดด นอนให้พอ เลี่ยงอาหารและความเครียดที่ทำให้โรคทรุด)อย่าปล่อยให้โรคมันคุกคามจนปัญหาจากไตไปทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น จะมีอาการทั้งบวม ทั้งปวดหัว ตาพร่ามัว จุกแน่นหน้าอก (จากปัญหาความดัน)ตามมา นานไปๆ ไตอาจวาย ต้องฟอกไต( dialysis ) หรือเปลี่ยนถ่ายไตไปเลยก็มีนะคะ"
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แพ้ยาฆ่าเชื้อ
เด็กที่เป็นโรคพุ่มพวงและไต โอกาสที่จะรักษาหายมากน้อยเพียงไร และมีข้อห้ามอะไรในการดูแลตัวเอง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)