June 15, 2019 21:58
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาอาจจะต้องขอถามก่อนว่าตอนนี้กำลังเจอเรื่องเครียดหรือเรื่องกดดันทำให้รู้สึกเศร้า อะไรแบบนั้นหรือเปล่าครับ เพราะอาจจะต้องแยกในเรื่องของโรคทางจิตเวชกับลักษณะของ บุคลิกภาพที่ sensitive ออกซักมันอาจจะคล้ายๆกันอยู่มาก เพราะอาการในหลายๆส่วนของภาวะโรคซึมเศร้าจะเป็นไปในทางเก็บตัว และ sensitive ดังนั้นอยากให้ลองทบทวนตรงนี้ดูนะครับว่าเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ตอนไหนบ้าง
หากเป็นเรื่องบุคลิกภาพที่ sensitive ในเบื้องต้น อาจจะต้องให้ลองเรียนรู้ในการรับมือกับอารมณ์ของตนเอง และพยายามผ่อนคลายและฝึกเทคนิคที่ทำให้เราอยู่กับตนเองได้มากขึ้น ดังนั้นคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความ sensitive ลดน้อยลงได้ครับ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ในคนทั่วไป การดูหนังเศร้า อาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เศร้าได้ แต่หากดูแล้วเศร้าและคิดเชื่อมโยงกับตัวเอง ทำให้เกิดความรู้สึกน้อยใจ รู้สึกไร้ค่า แบบนี้อาจมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า หรือ โรคที่เป็นความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ก็เป็นไปได้ค่ะ
ในกรณีนี้ อยากให้ลองสำรวจอาการซึมเศร้าด้วยตัวเองดังนี้นะคะ
โดยสำรวจอาการในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีอาการต่อไปนี้เกิน 7 ข้อ และมีอาการต่อเนื่องเกือบทุกวันหรือไม่
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.มีปัญหาการนอนหลับ
5.มีปัญหาด้านการกินอาหาร
6.ไม่มีสมาธิ เหม่อลอย
7.หงุดหงิด กระสับกระส่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย / อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้า ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการอื่นๆเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ร่วมกับการทำจิตบำบัด ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมองช่วยให้การคิด การรับรู้ การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมเหมาะสมตามสถานการณ์ ส่วนการทำจิตบำบัดช่วยฟื้นฟุสภาพจิตใจให้สามารถปรับตัวกับปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ในระหว่างรักษาต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย งดเว้นสารเสพติดทุกชนิด ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมอคะหนูรู้สึกว่าหนูเป็นคนที่ร้องไห้ง่ายมากจะเป็นบ่อยตอนดูหนังคือหนูชอบจินตนาการคิดภาพเป็นตัวเองแบบในหนังอะค่ะแล้วน้ำตามันก็ไหลเองรู้ตัวอีกทีก็ร้องไห้หนักมาก แล้วบางทีหนูก็จัดการกับความรู้สึกตัวเองไม่ค่อยได้ค่อนข้างบ่อย หนูอยากทราบปัญหาของตัวเองและวิธีแก้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)