กนกกาญจน์  ดวงสุวรรณกุล
เขียนโดย
กนกกาญจน์ ดวงสุวรรณกุล

โรคปากนกกระจอก (Angular cheilitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคปากนกกระจอกเป็นโรคที่มีแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน ส่งผลต่อการพูดคุยและการรับประทานอาหาร แม้ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้ผู้ที่เป็นโรคได้ 
  • นอกจากการขาดวิตามิน B ชนิดต่างๆ เหล็ก สังกะสี และโปรตีน จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคปากนกกระจอกแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของปากส่งผลต่อขอบริมฝีปาก การหลั่งน้ำลายที่เพิ่มขึ้น และการเปื่อยยุ่ยของรอยแยกมุมปาก เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นโรคปากนกกระจอกได้
  • โรคปากนกกระจอกอาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ใช้ยาฆ่าเชื้อติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนไปฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ปกติในช่องปากจนหมด ผู้ที่เป็นโรคเหงือก ฟันผุ หรือดูแลรักษาความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีพอ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจวิตามิน

โรคปากนกกระจอกเป็นโรคที่มีแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน ส่งผลต่อการพูดคุยและการรับประทานอาหาร แม้ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้ผู้ที่เป็นโรค

หลายคนอาจจะคิดว่า โรคปากนกกระจอกเกิดจากการขาดวิตามินเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วยังมีสาเหตุอื่นอีกด้วย ดังนั้นวิธีดูแลรักษาจึงมีหลายวิธีด้วยเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของโรคปากนกกระจอกมีอะไรบ้าง?

1. การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคพื้นฐานของปากเอง

การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของปาก ส่งผลต่อขอบริมฝีปาก การหลั่งน้ำลายที่เพิ่มขึ้น และการเปื่อยยุ่ยของรอยแยกมุมปาก เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นโรคปากนกกระจอกได้

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงกายวิภาคของปาก ได้แก่

  • การสูญเสียความยืดหยุ่นทางผิวหนังในผู้สูงอายุ ผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
  • ปากที่เล็กและกล้ามเนื้อในช่องปากที่ไม่แข็งแรงจนลิ้นจุกปากออกมา ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ประมาณ 25% มีภาวะปากนกกระจอกร่วมด้วย
  • ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน รูปปากผิดรูป มีการกดทับที่มุมปาก กลายเป็นจุดอับชื้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
  • ผู้ที่มีปัญหาน้ำลายออกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในคนที่นอนน้ำลายไหลเป็นประจำ หรือคนที่มีน้ำลายเอ่อขณะพูด ก่อให้มุมปากเกิดอาการระคายเคือง

2. โรคผื่นแพ้สารสัมผัส

ปากนกกระจอกอาจเกิดจากการอักเสบของผิวหนังเมื่อสัมผัสสารบางอย่าง โดยเฉพาะนิกเกิล อาหารบางชนิด ยาสีฟันบางชนิด น้ำยาบ้วนปากบางชนิด ลิปสติกบางชนิด หรือแม้กระทั่งหมากฝรั่งบางชนิด

3. การขาดสารอาหารบางชนิด

สารอาหารที่หากร่างกายได้รับน้อยเกินไป จะทำให้เกิดโรคปากนกกระจอกได้ ได้แก่

  • วิตามิน B ได้แก่ B12 (Riboflavin) B9 (Folate) และ B12 (Cyanocobalamin)
  • แร่ธาตุจำพวกเหล็กและสังกะสี
  • โปรตีน

4. โรคปากนกกระจอกที่เป็นอาการแสดงของโรคอื่น

โรคปากนกกระจอก บางครั้งอาจเป็นอาการแสดงทางผิวหนังของโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะหลายระบบในร่างกาย ได้แก่

  • กลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s syndrome) ซึ่งเป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกันเรื้อรัง ที่ทำให้ต่อมที่ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่ตาและปากถูกทำลาย
  • กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease)

5. การติดเชื้อ

โรคปากนกกระจอกอาจเกิดจากการติดเชื้อ โดยมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ใช้ยาพ่นสเตียรอยด์เป็นประจำ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อราในช่องปาก
  • ผู้ที่ใช้ยาฆ่าเชื้อติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนไปฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ปกติในช่องปากจนหมด
  • ผู้ที่เป็นโรคเหงือก ฟันผุ หรือดูแลรักษาความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีพอ

6. ยา สารเคมี รังสี หรือสิ่งแวดล้อม

การใช้ยาต่างๆ เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยารักษาสิวที่มีส่วนประกอบของวิตามิน A การฉายรังสีเพื่อรักษา เหล่านี้อาจทำให้ปากแห้ง จนก่อให้เกิดโรคปากนกกระจอกตามมาได้

7. พฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลต่อการเปื่อยยุ่ยของร่องมุมปาก

บางครั้งปากนกกระจอกอาจเกิดจากพฤติกรรมของคุณเอง เช่น ชอบเลียริมฝีปากบ่อยๆ (แต่อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทก็ได้) ชอบดูดนิ้วหัวแม่มือ หรืออมยิ้ม (ในเด็ก) สูบบุหรี่ การใช้ไหมขัดฟันด้วยความรุนแรง

เป็นโรคปากนกกระจอก ควรกินอะไร ไม่กินอะไร?

หากโรคปากนกกระจอกที่เป็นเกิดจากปัจจัยด้านอาหาร ควรเลือกรับประทานและหลีกเลี่ยงอาหาร ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน B ธาตุเหล็ก และสังกะสี รวมถึงโปรตีนให้เพียงพอในแต่ละวัน หรือหากไม่สามารถรับประทานอาหารนั้นๆ ได้ อาจเลือกวิตามินและเกลือแร่เสริม
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลต่อการดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วิธีการรักษาโรคปากนกกระจอก

  • ใช้ยาทาเฉพาะที่ หรือยารับประทาน เพื่อฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เพื่อรักษาโรค หรือเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรม ยา และสารเคมีที่อาจเป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอก
  • ดูแลรักษาความสะอาดภายในช่องปาก เช็ดทำความสะอาดมุมปากให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้กลายเป็นจุดอับชื้น
  • คนที่มีรูปปากผิดรูป หรือฟันผุ จนเกิดความผิดปกติ เช่น น้ำลายไหลออกมาตลอดเวลา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

แผลมุมปากจากโรคปากนกกระจอก ควรทายาอะไร?

  • ใช้ขี้ผึ้ง ลิปมัน หรือปิโตรเลียมเจล ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บที่มุมปาก และช่วยให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ
  • ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคปากนกกระจอกจากเชื้อรา ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อรา เช่น คีโตโคนาโซล (Ketoconazole cream) โคทริมาโซล (Clotrimazole cream) ส่วนในเด็ก นิยมใช้ยาม่วง (Gentian violet solution) ทา 2-3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ 
  • ในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น มิวพิโรซิน (Mupirocin oitment fusidic acid 2% cream) ทา 4-5 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ 
  • แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นยาเดี่ยว ในรายที่มีการอีกเสบอย่างรุนแรง หรือใช้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อรา หรือยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบ ช่วยให้แผลหายไวขึ้น และลดการกลับมาเป็นซ้ำได้

อย่างไรก็ตาม การซื้อยามาทารักษาโรคปากนกกระจอก ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ หรือได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจวิตามิน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Angular Cheilitis. American Osteopathic College of Dermatology (AOCD). (Available via: https://www.aocd.org/page/AngularCheilitis)
Devani, A., & Barankin, B. (2007). Answer: Can you identify this condition?. Canadian Family Physician, 53(6), 1022–1023. National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1949217/)
What Is Angular Cheilitis, the Painful Cracks Around Your Mouth?. SELF. (Available via: https://www.self.com/story/angular-cheilitis-facts)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)