กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วัคซีนผู้ใหญ่เเต่ละช่วงอายุ (Each vaccine to adults ages.)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่

เรามักคุ้นเคยกับการรับวัคซีนหลายๆ ชนิดในวัยเด็ก  เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคที่มีความอันตราย เสี่ยงต่อพัฒนาการ และคุณภาพชีวิต

แม้ในวัยผู้ใหญ่การฉีดวัคซีนก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากภูมิคุ้มกันบางโรคที่เคยได้รับในวัยเด็กอาจ “เสื่อม” ไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บสมัยนี้ยังมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมมาก จึงมีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนออกมารับมือกับเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) และผู้ที่เดินทางบ่อย ซึ่งควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

1.วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (Tetanus vaccine) และคอตีบ (Diphtheria vaccine)

  • โรคบาดทะยัก

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani เข้าสู่ร่างกายได้ทางบาด แผลเปิด จากนั้นจะสร้างสารที่มีพิษต่อเส้นประสาททำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งทีละน้อยเริ่มจากแผล กล้ามเนื้อรอบๆ และทั่วทั้งตัว จนเกิดอาการชักเกร็ง ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด  

โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ และแม้จะเคยได้รับวัคซีนครบ 3 ครั้งแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันโรคจะลดลงในช่วงอายุ 15-30 ปี จึงต้องฉีดกระตุ้น    

คำแนะนำ : หญิงตั้งครรภ์ ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีบาดแผล หรือผู้ที่ทำงานเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก โดยฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่สอง 6-12 เดือน และฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี

  • โรคคอตีบ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Chorynebacterium diphtheriae ติดต่อได้ง่ายผ่านลมหายใจ น้ำมูก การไอและจาม  หลังได้รับเชื้อจะมีไข้ เจ็บคอมากขึ้นเรื่อยๆ คอบวม หายใจลำบาก เสียงแหบขึ้นๆ อาการอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันและอยุู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำแนะนำ : หญิงตั้งครรภ์ ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ  และแนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี

(หมายเหตุ : ในทางเวชปฏิบัติจึงมีการให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและโรคคอตีบ (tetanus diphtheria toxoid :Td) ทุก 10 ปี แทนการให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ( tetanus toxoids: TT) เพียงชนิดเดียว)

2.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Influenza มี 2 สายพันธุ์สำคัญคือ A และ B ติดต่อผ่านน้ำลาย น้ำมูก การหายใจ และการสัมผัสผ่านเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส  หลังได้รับเชื้อจะมีไข้ ไอ เจ็บคอ มำน้ำมูก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ หนาวสั่น บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตได้

โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน

คำแนะนำ : ผู้ใหญ่  ผู้สูงอายุ รวมทัังผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ควรแนะนำฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี

3.วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ติดต่อได้ทั้งทางเลือด (การได้รับเลือด และจากมารดาสู่ทารก) การสัก การเจาะหู และการฝังเข็ม และสารคัดหลั่งในการมีเพศสัมพันธ์ หลังได้รับเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะเข้ม ตาเหลือง บางรายอาจมีอาการตักเสบร่วมด้วยหากรุนแรงอาจทำให้เซลล์ตับตาย ตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศโดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน

คำแนะนำ : ผู้ใหญ่ (โดยเฉพาะผู้ที่ตรวจเลือดแล้วไม่พบการติดเชื้อมาก่อน)  ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจ โรคหอบหืดโรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต ผู้ที่รับเลือดบ่อย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่รับเลือดบ่อย ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้  โดยฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1-2 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน

4.วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)

โดยมากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย S.pneumoniae  ติดต่อได้ทางการหายใจ การสำลักเชื้อที่สะสมอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบนลงสู่ปอด  การติดเชื้อในกระแสเลือด การใส่สายสวนปัสสาวะ ยาเคมีบำบัด  หากติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

คำแนะนำ : ผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น

หัวใจ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับแข็ง ผู้ที่ตัดม้าม ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน รวมถึงผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ

5.วัคซีนป้องกันงูสวัด(Zoster vaccine)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella Virus ชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส  ติดต่อได้ทางการหายใจ การสัมผัสตุ่มน้ำอีสุกอีใสโดยตรงทำให้เป็นโรคอีสุกอีใสก่อน

แม้จะหายจากอีสุกอีใสแล้วแต่เชื้อไวรัสจะยังซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท  ไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เชื้อไวรัสจึงแบ่งตัวทำให้เส้นประสาทอักเสบ มีอาการปวดแสบปวดร้อนตามแนวเส้นประสาท มีผื่นแดงขึ้นตามแนวและแตกเป็นแผล สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดมักมีอาการแทรกซ้อนได้มาก เช่น ปวดแนวเส้นประสาทหลายปี ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ตาอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนทางหู รวมทั้งสมองและปอดอักเสบได้

คำแนะนำ : ผู้ใหญ่อายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงสูง และอาการของโรคจะรุนแรงมาก  สำหรับผู้มีอายุ 50-59 ปี ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากวัคซีนนี้สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีแรก แนะนำฉีดเพียงครั้งเดียวไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ  นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดยังควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันด้วย

ตารางสรุปช่วงอายุและชนิดวัคซีนที่ควรฉีด

ช่วงอายุ /

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีน   

วัคซีนที่ควรฉีด

หมายเหตุ

วัยผู้ใหญ่ตอนต้น

(อายุ 19-26 ปี)

วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนเอชพีวี (มะเร็งปาดมดลูก)

วัคซีนตับอักเสบบี

ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี

ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี

ควรฉีดตั้งแต่เป็นวัยรุ่น

ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด

วัยผู้ใหญ่

(อายุ 27-65 ปี)

วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนตับอักเสบบี

ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี

ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี

ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด

วัยผู้สูงอายุ

(อายุ 50 ปี) ขึ้นไป

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนโรคปอดบวม ไอพีดี

วัคซีนงูสวัด

ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี

ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป

ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป

  

“การป้องกันโรค” มีความสำคัญมากกว่าการรักษา เพราะเมื่อไม่ป่วยก็ไม่เสียสุขภาพ ไม่เสียเวลา และไม่เสียกำลังทรัพย์   การฉีดวัคซีนป้องกันโรคจึงเป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพที่คุณไม่ควรมองข้าม


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)