พรูเดนเชียล ประกันชีวิต
ชื่อผู้สนับสนุน
พรูเดนเชียล ประกันชีวิต

7 สัญญาณโรคหัวใจและหลอดเลือด และแนวทางการรักษา

ลิสต์ 7 สัญญาณโรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และค่ารักษา
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
7 สัญญาณโรคหัวใจและหลอดเลือด และแนวทางการรักษา

โรคหัวใจและหลอดเลือด ประกอบด้วย 2 โรค ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด และ โรคหลอดเลือดสมอง หลักๆ แล้วเกิดจากหลอดเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่เพียงพอ

สถิติจากกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2561) พบว่า มีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นจำนวน 432,943 คน อัตราเสียชีวิตถึง 20,855 คนต่อปี และยังเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (พ.ศ. 2559) ก็พบว่า ในปี พ.ศ. 2553 และ 2557 โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย

โรคหัวใจและหลอดเลือดมักแสดงอาการรุนแรงอย่างเฉียบพลัน หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

7 สัญญาณโรคหัวใจและหลอดเลือด

มาดู 7 สัญญาณเสี่ยง ที่เตือนว่าหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองของคุณอาจกำลังมีปัญห

1. เจ็บแน่นหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งชี้ว่าหลอดเลือดที่จะส่งเลือดไปเลี้ยวหัวใจมีการอุดตัน ทำให้เลือดเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ จะมีลักษณะเฉพาะคือเจ็บแน่น รู้สึกจุกๆ เหมือนมีอะไรมากดทับ บริเวณกลางหน้าอก อาจเจ็บร้าวไปยังคอและแขนร่วมด้วย

ส่วนการเจ็บหน้าอกด้านซ้ายนั้นไม่ได้บ่งบอกถึงโรคหัวใจเสมอไป เพราะบริเวณดังกล่าวมีทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นประสาทจำนวนมาก การเจ็บแปลบขึ้นมาอาจเกิดจากออกกำลังกายหักโหมหรือเคลื่อนไหวผิดท่าก็ได้

2. อ่อนแรงฉับพลัน

อาการอ่อนแรงฉับพลันอาจเป็นสัญญาณของหัวใจขาดเลือด หรือสมองขาดเลือดก็ได้ โดยอาการของหัวใจขาดเลือดมักจะแสดงออกมาในลักษณะเหนื่อยหมดแรง หอบ พูดแล้วเหนื่อย ส่วนหลอดเลือดสมองมักเป็นอาการอวัยวะอ่อนแรงครึ่งซีก ทดสอบได้จากการพยายามยกแขนขึ้นทั้งสองข้าง จะพบว่าไม่สามารถยกได้ หรือยกแล้วแขนข้างใจข้างหนึ่งตกลงมา

นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาด้านการทรงตัว ทรงตัวไม่ได้

3. ปวดศีรษะ คลื่นไส้

อาจเป็นอาการของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองก็ได้ สำหรับโรคหลอดเลือดสมองอาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนนานเกิน 5 นาทีโดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทาง มักเป็นร่วมกับการเดินเซ อาจเกิดร่วมกับอาการแน่นหน้าอก เกิดจากความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน

4. เหงื่อออกมาก เป็นลม

โดยมากเป็นลักษณะเหงื่อเย็น มักจะเกิดในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน นอกจากนี้อาการเหงื่อออกมาและเป็นลมยังพบได้ในผู้เป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือฉีก

5. ปวดบริเวณแขนหรือไหล่

บ่งชี้ถึงหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ มักมีลักษณะเริ่มปวดจากหน้าอก แน่นร้าวไปยังกราม แขน จนถึงไหล่

อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อย หรือไม่เจ็บเลย เรียกว่า Silent Heart Attack หรือบางรายอาจเจ็บมากจนลามไปถึงแผ่นหลังก็ได้

6. หน้าเบี้ยว

หน้าเบี้ยว มักเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่อพยายามยิ้มแล้วพบว่ามุมปากข้างหนึ่งตกหรือยกไม่ขึ้น นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาในการกลืน การพูดร่วมด้วย

7. มีปัญหาด้านการมองเห็น

ภาวะหลอดเลือดสมองสามารถส่งผลต่อการมองเห็นได้ เช่น มองเห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด มองไม่เห็น มองเป็นเพียงบางส่วนหรือมีภาวะลานสายตาผิดปกติ อาจเกิดกับตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มักเกิดในระยะเวลาสั้นๆ ชั่วคราว

สัญญาณโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจเกิดในระยะเวลาสั้นๆ แล้วกลับเป็นปกติ แต่ไม่ควรนิ่งนอนใจว่าไม่เป็นไร ควรให้คนใกล้ชิดพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยด่วนเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา

สำหรับหลอดเลือดสมอง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้สมองได้รับความเสียหายอย่างถาวร นำไปสู่โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ส่วนใหญ่แล้วโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดจากพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ซึ่งสะสมมาเป็นเวลานาน ดังนี้

  • พฤติกรรมการกิน เช่น กินอาหารโซเดียมสูง ไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากไขมันสามารถเข้าไปสะสมในหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะตีบตันได้
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือเป็นผู้น้ำหนักเกิน ไม่ได้ควบคุมจนเข้าสู่ภาวะอ้วน เนื่องจากผู้มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินหัวใจจะทำงานหนักกว่าปกติ
  • สูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากในบุหรี่มีนิโคตินและสารอื่นๆ ซึ่งทำอันตรายต่อผนังบุด้านในของหลอดเลือด รวมถึงทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงหัวใจ
  • ความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น และตับยังผลิตคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้น ที่สุดแล้วมีผลให้หลอดเลือดอุดตันขึ้นได้

แม้สาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวไปแล้ว ดูเหมือนสามารถป้องกันได้ แต่หากเป็นพฤติกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และยังไม่เคยมีปัญหาสุขภาพที่สังเกตได้ชัด บางคนจึงไม่ได้ปรับเปลี่ยน นำไปสู่การสะสมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายโรคหัวใจขาดเลือด หลอดหลอดสมองตีบ หลอดเลือดสมองแตก ก็เกิดขึ้นอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

แนวทางการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดในปัจจุบัน ราคา

แนวทางการรักษาโรคในกลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจในปัจจุบันราคาค่อนข้างสูง และมักเป็นการรักษาที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

ตัวอย่างค่ารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ*

  • ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ประมาณ 700,000-900,000 บาท
  • ทำบอลลูนหัวใจ ประมาณ 200,000-1,000,000 บาท
  • ผ่าตัดเบี่ยงทางเดินหลอดเลือดหัวใจ หรือทำบายพาส ประมาณ 300,000-600,000 บาท

ตัวอย่างค่ารักษาโรคหลอดเลือดสมอง*

  • ค่ายาละลายลิ่มเลือดต่อครั้ง 10,000-40,000 บาท
  • ลากลิ่มเลือดผ่านสายสวนหลอดเลือด ประมาณ 200,000 บาท
  • เจาะศีรษะดูดน้ำและเลือดออกจากสมอง กรณีเส้นเลือดในสมองแตก ประมาณ 600,000 บาท

*ค่ารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างโดยประมาณ ค่ารักษาพยาบาลจริงอาจแตกต่างไปจากนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงเงื่อนไข ข้อกำจัดต่างๆ ของตัวผู้ป่วยเอง และสถานพยาบาล ควรตรวจสอบราคาก่อนเข้ารับบริการ

รักษาโรคร้ายด้วยประกันสุขภาพ พรูอีซี่แคร์ รับมืออาการเจ็บป่วย จากพรูเดนเชียล

โรคภัยไข้เจ็บซึ่งรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจเกิดได้โดยไม่คาดคิด และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง แต่คุณสามารถบริหารความเสี่ยงทางการเงินเพื่อรับมือค่ารักษาได้ ด้วยการทำประกันสุขภาพ กดเช็คเบี้ยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

พรูอีซี่ แคร์ จากพรูเดนเชียล ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลต่างๆ กรณีผู้ป่วยใน เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล ให้คุณหายจากโรคอย่างไร้กังวล

การดูและและรักษาสุขภาพก่อนเกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่หากละเลยจนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้ว อย่างน้อยการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดี ก็จะช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ และไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป การทำประกันสุขภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าพิจารณา อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขประกันภัยอาจมีการเปลี่ยนแปลง ควรติดต่อตัวแทนประกันจากพรูเดนเชียล ประกันชีวิต และศึกษาเงื่อนไขโดยละเอียดก่อนทำประกันทุกครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, อาการโรคหัวใจ (http://www.thaiheart.org/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88.html)
สำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค, คู่มือการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) (http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%20%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%20%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1..pdf), มกราคม 2559.
กรมสุขภาพจิต, เผยสถิติน่าตกใจคนไทยป่วยโรคหัวใจ 432,943 คนต่อปี นักโภชนบำบัดชี้ นมถั่วเหลืองช่วยลดปัจจัยเสี่ยง (https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29507#:~:text=432%2C943%20%E0%B8%84%E0%B8%99%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99,%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%202555%20%E2%80%93%202559), 8 กุมภาพันธ์ 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)