โรงพยาบาลราชวิถี

ข้อมูลโรงพยาบาล

โรงพยาบาลราชวิถีถือกำเนิดครั้งแรกมาจากโรงพยาบาลที่มีชื่อว่า “โรงพยาบาลหญิง” เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2494 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เพื่อให้เป็น โรงพยาบาลเฉพาะสตรีและเด็ก เป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีนายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการ และอีกเดือนต่อมา นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ท่านได้พัฒนา โรงพยาบาลหญิง จนได้รับความนิยม และไว้วางใจจากประชาชน เข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการผ่าตัดแฝดสยาม วันดี ศรีวัน แยกออกจากกันสำเร็จ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย สร้างชื่อเสียงให้กับ โรงพยาบาลหญิงเป็นอย่างมาก

พ.ศ.2519 (22 ปี หลังจากเริ่มเปิดทำการ) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โรงพยาบาลหญิง เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาล ที่รักษาโรคทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะ เพศและอายุอีกต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง กรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานนามใหม่ว่า” โรงพยาบาลราชวิถี” ปี พ.ศ.2525 ก่อสร้างอาคารพิเคราะห์โรคและบำบัดผู้ป่วยเป็นอาคารขนาดใหญ่สูง 12 ชั้น ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามอาคารว่า “ตึกสิรินธร” อาคารหลังนี้ มีความสำคัญ ต่อโรงพยาบาลมาก เพราะสามารถ อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ.2519 (22 ปี หลังจากเริ่มเปิดทำการ) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โรงพยาบาลหญิง เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาล ที่รักษาโรคทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะ เพศและอายุอีกต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงพยาบาลราชวิถี”

ปี พ.ศ.2525 ก่อสร้างอาคารพิเคราะห์โรค และบำบัดผู้ป่วยเป็นอาคารขนาดใหญ่สูง 12 ชั้น ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามอาคารว่า “ตึกสิรินธร” อาคารหลังนี้ มีความสำคัญ ต่อโรงพยาบาลมาก เพราะสามารถ อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ.2531 จัดตั้งศูนย์โรคหัวใจ เพื่อสร้างมาตรฐานการรักษา และป้องกันโรคหัวใจโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นโรคที่มีอุบัติการสูงสุด เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ศูนย์โรคหัวใจนี้ ทำชื่อเสียงให้กับโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก เพราะสามารถผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ และปอดพร้อมกันที่เรียกว่า Domino Heart Transplantation ได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และทวีปเอเชีย ต่อมาได้พัฒนาเป็นสถาบันโรคหัวใจ กรมการแพทย์ เพื่อรองรับนโยบายสาธารณสุขพ.ศ.2532 จัดตั้งศูนย์โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ ซึ่งสามารถ ให้การตรวจรักษาผู้ป่วยโรคนิ่ว และระบบทางเดินปัสสาวะ ได้ในทุกระดับความรุนแรงของโรค ปี พ.ศ.2537 เปิดตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ก่อสร้างอาคารบำบัดน้ำเสีย และวางโครงการก่อสร้างอาคารที่จอดรถ ขนาดใหญ่ 12 ชั้น ภายในประกอบด้วย หอประชุมใหญ่ ลานจอดรถ โรงอาหาร สำนักงาน และศูนย์กีฬา เพื่อเป็นสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ 40 กว่าปี ของโรงพยาบาลราชวิถี พร้อมด้วยประสบการณ์ที่สั่งสามต่อเนื่องกันมา โดยมีผู้อำนวยการนำบุคลากรทั้งหมด สละทั้งกำลังกายกำลังใจ เพื่อร่วมกันพัฒนาโรงพยาบาล ปัจจุบันโรงพยาบาลราชวิถี นับเป็นโรงพยาบาลศูนย์วิชาการที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การนำของผู้อำนวยการ นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์

  • โรคหัวใจ
  • จักษุ
  • สูตินรีเวช

ข้อมูลติดต่อ

เบอร์โทรศัพท์

023548108

อีเมล

เวลาทำการ

Sat from 8 to 24 hours

Sun from 8 to 24 hours

Mon from 6 to 24 hours

Tue from 6 to 24 hours

Wed from 6 to 24 hours

Thu from 6 to 24 hours

Fri from 6 to 24 hours

วิธีการเดินทาง

สถานีรถไฟฟ้าใกล้สุด
อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

รถประจำทาง
29 ,34 ,59 ,503 ,510 ,522 ,26 ,513 ,536 ทางด่วน ,12 ,62 ,77 ,140 ,509 ,515 ,18 ,63 ,97 ,
54 ,36 ,36ก ,204 ,551 ,39

จุดสังเกต
อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

2 ถนนพญาไท
ราชเทวี 10400 กรุงเทพมหานคร

ดูแผนที่ใน Google Maps

แผนที่ในโรงพยาบาล

ขั้นตอนการให้บริการ

แผนก

สุด
อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

รถประจำทาง
29 ,34 ,59 ,503 ,510 ,522 ,26 ,513 ,536 ทางด่วน ,12 ,62 ,77 ,140 ,509 ,515 ,18 ,63 ,97 ,
54 ,36 ,36ก ,204 ,551 ,39

จุดสังเกต
อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

  • มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี
  • ศูนย์การจัดการความรู้ (KM)
  • ศูนย์กู้ชีพนเรนทร
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
  • สถาบันร่วมผลิตแพทย์ (ม.รังสิต)
  • งานถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการแพทย์
  • สถิติ
  • ชมรมพุทธศาสน์โรงพยาบาลราชวิถี
  • ศูนย์พัฒนาคุณภาพ (TQM)
  • งานวิจัยและประเมินเทคโนโลยี
  • สถาบันโรคหัวใจ
  • สหกรณ์ออมทรัพย์รพ.ราชวิถี จำกัด
  • คลินิคประกันสังคม
  • งานบริการสุขภาพปฐมภูมิ


แพทย์เฉพาะทางชื่อดัง

นพ.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน /สูตินารี
นพ.อภิวัฒน์ โพธิกำจร จักษุแพทย์
น.พ.ไพจิตร เจริญขวัญ /สูตินารี
นายแพทย์พีระพัฒน์ มกรพงศ์ ศัลยแพทย์โรคหัวใจเด็ก

ค่ารักษาพยาบาล

สิทธิประกันสังคมและประกันสุขภาพ

ประกันสังคม: ได้

30 บาทรักษาทุกโรค: ได้