ที่อยู่
ดูแผนที่ใน Google Maps
เบอร์โทรศัพท์
เกี่ยวกับ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
นับแต่ก่อตั้ง "กรมการแพทย์" ในปี ๒๔๘๕ จนถึงปี ๒๕๑๐ "กรมการแพทย์"มีหน้าที่รับผิดชอบโรงพยาบาลของรัฐทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ทั้งโรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและโรงพยาบาลเฉพาะโรค รวมโรงพยาบาลในสังกัด"กรมการแพทย์"ทั้งสิ้นถึง ๑๐๒ แห่ง เป็นโรงพยาบาลในส่วนกลาง ๑๑ แห่ง สถาบัน ๒ แห่ง และโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ๘๙ แห่ง
๒๕๑๐ ประชากรในเขตกรุงทพฯและปริมณฑลมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก และโรงพยาบาลในส่วนกลางก็รับผู้ป่วยจนเต็มล้น ซึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ได้หยิบยกมาเป็นประเด็นปัญหาสังคมในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายให้กรมการแพทย์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องโรงพยาบาลรับไปศึกษาปัญหาดังกล่าว
กรมการแพทย์ (นายแพทย์ประเทือง สิงคาลวณิช อธิบดีกรมการแพทย์ในขณะนั้น) จึงได้มอบหมายให้นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว (อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในขณะนั้นทำงานอยู่ที่กองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค) ทำการศึกษาวิจัยถึงแนวคิดเรื่องโรงพยาบาลชานพระนคร โดยมีนายแพทย์ รังสรรค์ มหาสันทนะ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคในขณะนั้น) เป็นที่ปรึกษาในการศึกษานี้ ผลการศึกษาสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว กรมการแพทย์จึงได้ตั้งคณะกรรมการโดยมีอธิบดีเป็นประธานพิจารณาผลการศึกษาวิจัย และเห็นสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัย จึงได้ทำโครงการเสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุข (ในขณะนั้น ผู้ที่ดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ พระบำราศนราดูร) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทั้งกระทรวง และ จากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด้วยเหตุที่มีการขยายตัวของเมืองอย่างมากทางทิศตะวันออก มีประชากรในพื้นที่ถึง ๒ ล้านคน และมีโรงงานจำนวนมากถึง ๑,๐๐๐ แห่ง จึงเริ่มดำเนินการ “โครงการโรงพยาบาลชานพระนคร” ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ (เขตบางกะปิ)
๒๕๑๕ สภาบริหารคณะปฏิวัติมีมติให้กรมการแพทย์ดำเนินการจ้างเอกชนดำเนินการออกแบบแปลนและก่อสร้าง นายแพทย์เชิด โทนะวณิก อธิบดีกรมการแพทย์ได้แต่งตั้งนายแพทย์สมศักดิ์ สืบแสง เป็นผู้ดำเนินการโครงการ
๒๕๑๖ กรมการแพทย์ ("กรมการแพทย์และอนามัย" ในขณะนั้น) ได้จัดซื้อที่ดินจำนวน ๒๘ ไร่ ๖๐ ตารางวา ด้วยงบประมาณ ๕ ล้าน ๕ แสนบาท เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๑๖ และได้รับบริจาคที่ดินจากผู้ขายที่ดินเดิมให้อีก ๓๑ ไร่ ๓๙ ตารางวา รวมเป็นพื้นที่ดินทั้งหมด ๕๙ ไร่ ๙๙ ตารางวา
๒๕๑๗ กรมการแพทย์ ได้รับการกำหนดบทบาทให้เป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ การก่อสร้างโรงพยาบาลดังกล่าวจึงถูกระงับชั่วคราว
๒๕๒๐ กรมการแพทย์ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลชานพระนคร (ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ) ขนาด ๖๕๐ เตียง โดยได้รับงบประมาณผูกพัน ๒๕๒๐ – ๒๕๒๒ วงเงิน ๓๓ ล้านบาท (โดยประมาณ) เพื่อก่อสร้างอาคารอำนวยการ ถมดิน และ ทำรั้วรอบโรงพยาบาล ต่อมาระหว่าง พศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๕ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรรัฐบาลเพื่อจัดสร้างอาคารอื่นๆ ที่เหลือ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๓๑๗ ล้านบาท (โดยประมาณ)
วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๕ โรงพยาบาลเริ่มให้บริการผู้ป่วยนอก
วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า “โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี” ตามหนังสือของสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล. ๐๐๐๒/๓๐๘๑
วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ โรงพยาบาลได้เริ่มเปิดบริการผู้ป่วยใน
- ศูนย์ส่องกล้อง
- สูตินารี
- จักษุ
เวลาทำการ
Sat from 16 to 20 hours
Sun from 16 to 20 hours
Mon from 8 to 16 hours
Tue from 8 to 16 hours
Wed from 8 to 16 hours
Thu from 8 to 16 hours
Fri from 8 to 16 hours
ความเชี่ยวชาญ
ดูข้อมูลโรงพยาบาล
ดูข้อมูลทั่วไป เบอร์ติดต่อ วิธีการเดินทาง แผนที่ ค่ารักษา รีวิว สิทธิประกันสังคมและประกันสุขภาพ ของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
จองคิว
ลงทะเบียนผู้ป่วยและจองคิวออนไลน์
รีวิว โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
เขียนรีวิวเพื่อเป็นข้อมูลให้คนอื่นๆ
เลือกดูแพ็กเกจ
เปรียบเทียบ ดูรายละเอียด และจองแพ็กเกจจาก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
เช็กค่ารักษาพยาบาล
ดูค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
รีวิวที่ได้รับความนิยม
เขียนรีวิว
ฝากเรื่องหมอเวรที่ห้องฉุกเฉินค่ะ เข้าใจว่าคนไข้มาด้วยอาการไม่หนัก แต่เมื่อคนไข้ไม่ฟื้นมีอาการสำลักและคนไข้เป็นคนชรา คุณควรจะตรวจหาความผิดปกติของคนไข้ และให้นอน รพ ไม่ใช่ปล่อยให้กลับบ้านจนคนไข้กลับมาอีกครั้งด้วยอาการปอดติดเชื้อ การทำงานด้วยความมักง่ายอาจจะทำให้ครอบครัวเราต้องสูญเสียคนที่รักไปค่ะ ในส่วนอื่นๆของ รพ. ค่อนข้างประทับใจค่ะ หมอและพยาบาลดูแลดีค่ะ
แผนก อายุรกรรม โรงพยาบาล นพรัตน์ 1 เช็ด ตัว ทำแผลผู้ป่วย แค่ช่วง เช้า 1 ครั้ง ต่อวัน ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง เพราะ ถามผู้ป่วยแล้ว แจ้งว่า ไม่ได้ทำแผล ติดเชื้อ ให้ 2 บริเวณ แผลอื่น เช่น หัวแตก ไม่ได้รับการรักษา 3 ให้ญาติ ผู้ป่วย เช็ดตัว พร้อม ทำแผล เองในตอนเย็น ซึ่ง เช็ดตัว ผมว่าไม่มีปัญหา แต่การให้ญาติทำแผล เอง แล้ว จะมีพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ทำไม รัฐไม่ควรจ้าง 4 การพูด จา สื่อสาร ไม่ดี เช่นบอกให้ไปเอาประวัติคนให้ เก่า เมื่อญาติขอเอกสาร การรับเอกสารจากโรงพยาบาลต้นสังกัด เพื่อไปขอประวัติการรักษา ก็ไม่จัดเตรียมให้เรียบร้อย ทันเวลา 5 มีการถามขอจ้าง พยาบาล เฝ้าไข้ กะละ 300 บาท 2 กะ 600 ผิด จรรยาบรรณการเป็นพยาบาลที่ดี 6 หมอต้องสั่งการพยาบาลหรือไม่ว่าต้องดูอาการผู้ป่วยเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งยังไม่ครอบคลุม ข้อดี 1 หมอฉุกเฉิน take action ดี รักษาเร็ว ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิต 2. ให้เลือด ให้ยา ให้น้ำเกลือ ถือว่าหมอ ดูแลดี ก่อนส่งตัวขึ้นอายุรกรรม
August 30, 2019 13:58
คลอดนพรัตน์คะ คลอดเอง ฝากพิเศษ มารพ. ปากมดลูกเปิด 4 ผซม.แล้ว หมอที่ฝากพิเศษ็มาทำคลอดให้คะ บริการดีนะคะ คชจไม่แพงเลย จ่ายรพ.ทั้งหมดไม่ถึงแปดพันเลย ค่าใสองหมอ ไม่กี่พันแค่นั่นคะ ไม่ได้แย่อย่างที่หลายคนคิดนะคะ บริการของพยาบาลห้องพิเศษ ดีมากเลยคะ อบรมเลี้ยงลูกใด้ความรุ้มากมายเลยคะ ใครที่กลัว ว่าฝากครรภ์ที่อื่น มาคลอดที่นี้จะมีปัญหา เราเป็นคนนึงที่ฝากที่อื่น แล้วมาที่นี้ ก็ 34 สัปดาห์แล้ว ตอนแรกโทรไป เค้าบอกอยู่ที่ดุลพินิจของหมอว่าจะรับมั้ย แต่เราไปใกล้คลอดแล้ว หมอก็ไม่ว่าอะไรเลย ดูแลดีด้วย ถามได้หมด หมอน่ารัก ขนาดไม่ไดฝากพิเศษด้วยนะคะ ฝากพิเศษกับหมออีกท่านนึง ลองดูนะคะ ใครที่คลอด รพ.รัฐบาล เพื่อเซฟค่าใช้จ่าย นี้คือความเห็นนึง คะ
ไม่ทราบว่าคลอดกับหมอชื่ออะไรค่ะ อยากจะทราบว่าคุณหมอมีรับฝากครรภ์พิเศษไหม รบกวนหน่อยนะค่ะ