May 12, 2020 18:52
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดศีรษะแบบตุ่บๆเป็นๆหายๆบ่อยๆนั้นอาจเป็นอาการของโรคไมเกรนได้ครับ ซึ่งถ้ามีอาการในลักษณะนี้บ่อยๆก็อาจต้องมีการรับประทานยาเพื่อป้องกันการเกิดอาการ และก็ควรตรวจประเมินอาการทางระบบประสาทโดยละเอียดเพื่อแยกจากสาเหตุอื่นๆก่อนครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์อายุรกรรมเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม และในระหว่างนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การใช้สายตานานๆ การเห็นแสงจ้าๆ ได้ยินเสียงดังๆ เป็นต้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณค่ะ พอดีช่วงนี้อ่านหนังสือ+เครียดหน่อยๆ แล้วนอนดึกด้วยอาจจะเกี่ยวใช่ไหมคะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถ้ามีความเครียด นอนพักผ่อนน้อยก็อาจมีผลให้มีอาการปวดศีรษะได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะ หนูมีอาการปวดหัว เป็นบ่อยมากเลยค่ะ ไม่ค่อยอยากกินยาบ่อยแต่เวลาไม่กินหรือนอนพักเฉยๆมันไม่หายเลยค่ะต้องกินทุกครั้ง เวลาหันซ้ายขวามันจะปวดที่หางตาแล้วจี๊ดขึ้นไปค่ะ เวลาปวดจะรู้สึกปวดตุบๆตามจังหวะหัวใจเต้นเลยค่ะ เวลาโดนแดดหรือวิ่งหรือเดินขึ้นสะพานลอยแล้วก็จะรู้สึกปวดหัวขึ้นมาตลอดเลยค่ะ บางครั้งก็รู้สึกเจ็บจี๊ดๆที่หน้าอกข้างซ้ายด้วยค่ะ แล้วช่วงนี้กินยาไปแล้วมันไม่หายปวดหัวเลยค่ะ ต้องทำอย่างไรบ้างคะ ขอบคุณค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)