March 02, 2020 03:01
ตอบโดย
สิริพัชร
ชำนาญเวช (ทันตแพทย์)
(ทันตแพทย์)
Dentist
สวัสดีค่ะ
อาการเคี้ยวแล้วเสียวฟัน อาจะเกิดจากฟันแตกฟันร้าว หรือฟันสึกค่ะ แนะนำควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา การเกิดฟันแตกฟันร้าว หากรอยร้าวขนาดเล็ก อาจรักษาได้โดยการกรอรอยร้าวออกแล้วอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน แต่หากรอยร้าวมีขนาดใหญ่อาจต้องรักษาด้วยการครอบฟัน
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา เนื่องจากรอยร้าวอาจลึกไปเรื่อยๆจนปวด ต้องรักษารากฟัน หรือถ้าร้าวลงไปใต้รากฟันอาจต้องถอนค่ะ
อาการกึกๆของขากรรไกรด้านขวา แต่ปวดเมื่อยทางด้านซ้าย มักเกิดจากการถนัดเคี้ยวซ้ายข้างเดียวค่ะ
ให้คนไข้สังเกตพฤติกรรมและปรับมาเคี้ยวข้างขวาค่ะ ให้เคี้ยวอาหารนุ่มๆนะคะ งดเว้นของแข็งของเหนียวก่อนค่ะ
และหากไม่หายควรแจ้งทันตแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมด้วยค่ะ
นอกจากนี้ อาการตื่นมาแล้วปวดเมื่อย ขากรรไกรและขมับ ควรสังเกตว่ามีการนอนกัดฟันด้วยหรือไม่ ซึ่งควรปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางวิทยาระบบบดเคี้ยว เพื่อทำเครื่องมือป้องกันการนอนกัดฟันค่ะ ป้องกันฟันแตกฟันร้าวจากการนอนกัดฟันในอนาคต
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอนเสียวฟันแรกๆ เคยไปหาหมอฟันแล้วค่ะ หมอฟันดูภายนอกละบอกว่าไม่มีอะไรผิดปกติ
ปกติเป็นคนเคี้ยวอาหารสองข้างอยู่แล้ว จนกรามข้างขวาอยู่ๆ ก็ค้างบ่อยๆ ละดังกึกๆ เวลาอ้าปาก แต่พอเริ่มเสียวฟันกรามด้านซ้าย ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปเคี้ยวด้านขวาเป็นปกติ เลยงงว่าทำไมปวดขมับละเมื่อยกรามข้างซ้าย เพราะเดี๋ยวนี้ข้างซ้ายเคี้ยวอาหารละเสียวฟันเลยเลี่ยงไปเคี้ยวด้านขวา
เวลาเคี้ยวอาหารหรือเวลามีอะไรไปโดนฟันกรามข้างซ้ายซี่ข้างบนจะเสียวฟันแปลบๆ ตลอดเลยค่ะ เป็นมาประมาณ 4 เดือนแล้ว แต่ปกติเวลากินของร้อนหรือเย็นไม่เสียวฟัน ใช้ยาสีฟันรักษาอาการเสียวฟันก็ไม่หาย ปีที่แล้วเคยมีอาการกรามล็อคบ่อยๆ แต่สักพักหายละเปลี่ยนมาเป็นเวลาอ้าปากกรามข้างขวาจะดังกึกๆ อยากรู้ว่าเกี่ยวกันไหม ตอนนี้นอกจากอาการเสียวฟัน ยังปวดเมื่อยแถวๆ ขากรรไกรและปวดขมับข้างซ้ายตลอดเวลา ตื่นมาก็ปวดหัวแล้ว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)