March 06, 2020 13:06
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าเป็นตุ่มบวมเเดง กดเจ็บ ที่เจอบ่อยคือ รูขุมขนอักเสบ ถ้าลุกลามมากขึ้นก็อาจกลายเป็นฝีหนองได้ครับ ควรถอดตุ้มหูออกก่อนครับ
ถ้าตุ่มไม่ได้ใหญ่มาก และไม่ได้มีประวัติเเพ้ยา ปรึกษาเภสัชกรพิจารณากินยาฆ่าเชื้อ เช่น Dicloxacillinได้ครับ เเล้วหาเวลาพบเเพทย์
ถ้าเห็นหัวหนองชัดเจน ให้ล้างมือให้สะอาดเเล้วบีบหนองออกได้ครับ เเต่ถ้าไม่มีหัวชัด ก็อย่าไปบีบหรือเเคะ เพราะจะอักเสบมากขึ้นครับ หรือถ้าไม่มีอุปกรณที่สะอาด อยู่ในที่ๆไม่พร้อม ก็ไม่ควรทำครับ
ถ้าตุ่มใหญ่ กดเจ็บมาก เเนะนำพบเเพทย์ครับ เพราะถ้าเป็นฝี ต้องพิจารณาเจาะระบายหนองครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีตุ่มหนองขึ้นมาที่บริเวณที่เจาะหูนั้นมักมีสาเหตุมาจากการอักเสบติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณนั้นครับ ซึ่งในเบื้องต้นหมอก็แนะนำว่าควรถอดต่างหูออกก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อมากขึ้น และก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการและให้การรักษาที่เหมาะสมเพิ่มเติมครับ
ส่วนการเจาะเอาหนองออกมาเองนั้นหมอไม่แนะนำเนื่องจากจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนมากขึ้นและเป็นอันตรายตามมาได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะ คือหนูไปเจาะหูมาค่ะ เจาะมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 62 ตั้งแต่เจาะมาคือจะล้างน้ำเกลือหลังอาบน้ำตลอดค่ะ แต่ช่วงเดือนที่ผ่านมา ตรงบริเวณที่เกิดตุ่ม ก่อนหน้านั้นคือเป็นผิวหนังที่แห้งค่ะ เลยลอกออกตลอดถ้าลอกได้ จนตอนนี้เปิดเป็นตุ่มแดง เหมือนจะเห็นว่ามีหนองข้างใน มีอาการเจ็บนิดหน่อยค่ะ หนูต้องทำอย่างไรค่ะ สามารถเอาเข็มเจาะหนองออกได้เลยไหม หรือต้องถอดต่างหูบริเวณนี้คะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)