February 27, 2020 13:13
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
1.การฉีดวัคซีน ไม่ได้มีผลกับฤทธิ์คุมกำเนิดครับ
2.อาการเลือดออกกระปริบกระปรอย หรือประจำเดือนขาด เป็นผลจากยาฝังคุมกำเนิดได้นะครับ
ช่วงเลือดออก อาจจะรำคาญเนื่องจากต้องใส่ผ้าอนามัยตลอด เเต่ไม่ได้อันตรายครับ
พอฝังไปนานๆหลายเดือน จะค่อยๆลดลงจนเลือดหายไปครับ เเละอาจมากระปริบกระปรอยน้อยๆ บางช่วงได้
ยกเว้น ถ้าเลือดออกมากชุ่มผ้าอนามัยหลายเเผ่น 4-5 แผ่นต่อวัน ปวดท้องน้อยมากๆ มีหน้ามืดใจสั่น เเบบนี้ผิดปกติควรไปพบเเพทย์ครับ เพื่อตรวจภายในหาสาเหตุอื่นครับ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในการฝังยา เช่น
- ประจำเดือนผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรกประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ส่วนใหญ่จะมาน้อยลงและห่างออกจนถึงอาจไม่มีรอบเดือนเลย บางคนรอบเดือนมามากขึ้น มาทุกวันหรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง เเละไม่ได้อันตรายครับ แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นสามารถพิจารณารักษาโดยการให้เอสโตรเจนเสริมในช่วงสั้นๆ เช่น Diane35 กิน 7-10 วัน
- อารมณ์แปรปรวน อาจมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ เป็นผลข้างเคียงที่พบได้ค่อนข้างบ่อยกว่าเมื่อเทียบกับการคุมกำเนิดวิธีอื่น
- ภาวะแทรกซ้อนในตำแหน่งที่ฝังยา เช่น ติดเชื้อ, ระคายเคืองตรงตำแหน่งที่ฝังยา, หลอดยาหลุด หรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ฝัง, เกิดพังพืดยึดติด, หลอดยาขาดออกทำให้เอาออกยาก เป็นต้น อาการอื่นๆ ที่พบได้น้อย เช่น ปวดศีรษะ, ปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือน, เป็นสิว เป็นต้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะคุณหมอ ดิฉันฝังยาคุมกำเนิดได้ประมาณ1ปีครึ่ง และไม่มีประจำเดือนอีกเลย แต่เมื่อวันที่ 25 ดิฉันได้ไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และหัดเยอรมัน ผ่านไปประมาณ1-2 ชั่วโมง พบว่ามีเลือดประจำเดือนออกมาค่ะ เป็นสีดำ น้ำตาลเข้มๆ จนตอนนี้ยังไม่หยุดเลยค่ะ อยากทราบว่ามันเกิดจากอะไร และจะส่งผลต่อยาคุมที่ฝังอยู่ ทำให้ยาคุมป้องกันได้น้อยลงมั้ยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)