September 20, 2019 15:58
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ธรรมชาติของมนุษย์ จะเป็นสัตว์ที่นอนตอนกลางคืนตื่นและทำงานตอนกลางวันตามแสงอาทิตย์ ไม่เหมือนกับสัตว์บางชนิด เช่น ค้างคาวหากินกลางคืนนอนกลางวัน
ดังนั้นฮอร์โมนและระบบการทำงานต่างๆของร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการนอนและการทำงาน
การที่คุณ มานอนช่วง 7 ถึง 10- 11:00 น. การนอนกลางวันช่วงนี้ อาจจะทำให้ตื่นมาแล้วมีอาการเพลีย มึนหัว ไม่สดชื่น สมองไม่แจ่มใสได้
ลองเลิกนอนเวลานี้ดู ปรับเปลี่ยนการนอนให้เป็นเวลาพยายามเข้านอนเวลาเดิมหรืออย่าให้สายเกินกว่าเวลาเดิมเกิน 30 นาที และตื่นให้เป็นเวลาเดิมๆ
อย่านอนตอนกลางวันหรือหรือช่วงที่มีแสงแดด น่าจะช่วยให้อาการต่างๆดีขึ้นได้ครับ และร่างกายก็จะดำเนินปรับเปลี่ยนสอดคล้องกับธรรมชาติ ฮอร์โมนต่างๆก็จะหลั่งออกมาได้ตามปกติ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ
สวัสดีค่ะคุณหมอหนูอายุ 22 ปีค่ะ รู้สึกว่านอนเยอะกว่าปกติค่ะ เวลาทุกครั้งที่นอนคือ 4-5 ทุ่ม แต่บางวันจะเลทไปถึงเที่ยงคืน-เที่ยงคืนกว่า ต้องตื่นตอนตี 5.30 น. เพื่อมาทำกับข้าวทำเสร็จก็ไปนอนต่อประมาณ 7 โมง ซึ่งนอนแล้วจะนอนยาวไปถึง10-11 โมง อาการคือไม่อยากตื่น มีอาการหนาวในข่วงที่จะตื่น แต่พอตื่นก็จะมีอาการเพลีย มึนหัว ไม่สดชื่น สมองไม่ค่อยไบร์ทค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)