May 09, 2019 22:28
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีความทรงจำหรือประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีตนั้นอาจจะส่งผลกระทบกับอารมณ์และสภาพจิตใจในปัจจุบันได้ครับ แต่ถ้าหากอารมณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆจนส่งผลต่อการนอนหรือการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในกรณีนี้หมออยากให้คุณได้ลองไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมดูก่อนครับ ทางจิตแพทย์จะช่วยตรวจประเมินอารมณ์ ความคิด และผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้และช่วยเลือกวิธีการช่วยเหลือและการรักษาที่เหมาะสมให้ได้ครับ โดยในการรักษานั้นอาจจะเป็นการใช้ยาเพื่อช่วยนอน ช่วยปรับอารมณ์ หรือการทำจิตบำบัด หรือใช้หลายๆวิธีร่วมกันก็ได้ตามความเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีความทรงจำหรือประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีตนั้นอาจจะส่งผลกระทบกับอารมณ์และสภาพจิตใจในปัจจุบันได้ครับ แต่ถ้าหากอารมณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆจนส่งผลต่อการนอนหรือการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในกรณีนี้หมออยากให้คุณได้ลองไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมดูก่อนครับ ทางจิตแพทย์จะช่วยตรวจประเมินอารมณ์ ความคิด และผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้และช่วยเลือกวิธีการช่วยเหลือและการรักษาที่เหมาะสมให้ได้ครับ โดยในการรักษานั้นอาจจะเป็นการใช้ยาเพื่อช่วยนอน ช่วยปรับอารมณ์ หรือการทำจิตบำบัด หรือใช้หลายๆวิธีร่วมกันก็ได้ตามความเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
คนเราหากต้องจมอยู่กับเรื่องแย่ๆเดิมๆ โดยที่ไม่สามารถปรับตัวกับปัยหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ก้อาจนำไปสู่ปัยหาสุขภาพจิตได้ค่ะ
ซึ่งจากอาการที่เล่ามาอาจบ่งถึงภาวะซึมเสร้าก็เป็นไปได้
เบื้องต้น ลองประเมินอาการด้วยตัวเองดังนี้นะคะ โดยดูว่าใน 2 สัปดาหืที่ผ่านมามีอาการเหล่านี้เกือบทุกวันหรือไม่
1. เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
4.เบื่ออาหาร/ทานได้มากกว่าปกติ
5.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
6.เหม่อลอย ไม่มีสมาธิ
7.กระสับกระส่าย หงุดหงิด
8.รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย/อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเกิน 7 ข้อ แนะนำพบจิตแพทย์นะคะ ประเมินอาการอย่างละเอียดอีกครั้ง แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม จะช่วยให้อาการดีขึ้นค่ะ
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ดังนั้นการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณื พฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสมมากขึ้น และอาจทำจิตบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจช่วยให้ปรับตัวกับปัยหาต่างๆได้ดีขึ้น นะคะ
ในระหว่างทำการรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิด ไปพบแพทยืตามนัดทุกครั้ง จะช่วยให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สวัสดีคะ มีเรื่องอยากปรึกษาคุณหมอค่ะ ท้าวความก่อนนะคะมีปัญหาภายในครอบครัว พ่อ แม่ ดิฉันเป็นบุตรคนโต ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม่มักจะเอาปัญหาที่ไม่ลงลอยกับ พ่อหรือคนในครอบครัวมาระบาย เนื่องจาก พ่อมีภรรยาน้อย ดิฉันเหมือนเก็บกดมาตลอด มักจะมีอาการเหนื่อยท้อ เบื่อหน่าย อารมณ์หงุดหงิดง่าย แปรปรวนมาตลอด จนดิฉันอายุมากขึ้น มีความรักครั้งนึง แต่ต้องเลิกรา ดิฉันมีอาการนอนไม่หลับ สะดุ้งกลางดึกแทบทุกวัน ยามสะดุ้งตื่นรู้สึกเหนื่อยหายใจไม่ทัน มักฝันถึงคนรักครั้งนั้นเสมอ หรือฝันถึงเรื่องอื่นๆ คล้ายคนหลับไม่สนิท จนมามีครอบครัวคนปัจจุบัน ก็มีฝันถึงตลอด บางครั้ง ที่เกิดอาการผิดหวัง เสียใจ ไม่ว่าจะเป้นเรื่องครอบครัว หรือคนรัก มักมีอาการเหนื่อย ท้อ เบื่อหน่าย เบื่ออาหาร อยากอยุ่คนเดียว ตลอดจนทำร้ายตัวเองด้วยการหยิกที่ตัวเองให้รู้สึกเจ็บ พอเจ็บก็หยุดแล้วร้องไห้ต่อ บางครั้งมีความรู้สึกอยากร้องไห้ออกมา อาการเหล่านี้เกิดจากอะไรคะ แล้วรักษาได้มั้ย เพราะ ดิฉันอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง เช่น ยามกลับไปบ้านคุยกับพ่อ แม่หรือญาติ ได้ไม่กี่คำก็จะหงุดหงิดอารมณ์ฉุนเฉียวทันที หรือบางครั้งเพื่อนร่วมงานทำอะไรไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกใจมักจะหงุดหงิดออกมา และในบางครั้งเบลอหลงลืมบ่อยๆ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)