January 04, 2020 10:57
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีความคิดรู้สึกผิด โทษตัวเองบ่อยๆ ไม่สามารถปล่อยผ่านเรื่องความรู้สึกผิดของตัวเองได้นั้นอาจเกิดได้จากบุคลิกภาพพื้นฐานเดิมหรือจากการเรียนรู้บางอย่างในอดีตที่ทำให้เกิดความคิดในลักษณะที่ต้องโทษตัวเองเอาไว้ก่อนได้ครับ
แต่ถ้าหากมีอาการต่อไปนี้ด้วยก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ มีอารมณ์เศร้าหรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรติดต่อกันนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ
- ทำอะไรช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตัวเองน้อยลง
- มีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
หมอแนะนำว่าในกรณีนี้ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ โดยถ้าหากอาการเกิดจากบุคลิกภาพพื้นฐานเดิมเท่านั้นทางจิตแพทย์ก็จะมีแนวทางในการแนะนำให้คำปรึกษาเพื่อปรับมุมมองและความคิด หรือทำจิตบำบัดในการรักษาได้ครับ หรือถ้าเป็นโรคซึมเศร้าก็จะต้องรักษาด้วยยาเพื่อปรับการทำงานของสารเคมีในสมองใหม่ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
รู้สึกว่าเวลาตัวเองทำอะไรผิดหรือมีความขัดแย้งกับผู้อื่นแล้วเราไม่ได้มีเริ่ม ความคิดเหล่านี้อยู่ดีๆก็จะขึ้นมาเรื่อยๆทุกๆวันทำให้เรารู้สึกแย่หรือรู้สึกผิด คิดซ้ำๆเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น เช่น ทะเลาะกับเพื่อน เหตุการณ์ที่เขาทำกับเราก็จะผุดขึ้นมาแล้วเราก็คิดเสมอว่าทำไมเขาต้องทำกับเราขนาดนั้น ทำไมเขาต้องเริ่ม หรือเวลาเราทำอะไรผิดซึ่งปกติอาจจะปล่อยผ่านก็ได้แต่ถ้าเป็นเรา เราจะรู้สึกผิดมากๆอยู่หลายวันแล้วถ้าไม่แก้ไขเช่นไปขอโทษก็จะติดในหัวเรื่อยๆไม่หายไป อยากทราบว่าตัวเองนั้นเป็นอะไรหรือถ้าวินิจฉัยไม่ได้ก็อยากได้แนวทางแก้แทนค่ะ คือรู้สึกไม่ดีมากๆที่ต้องมาคิดเรื่องเดิมซ้ำๆ รู้สึกแย่ซ้ำๆ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)