January 12, 2020 17:39
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ และมีปัญหาทางด้านการใช้สมาธิ ด้านการเรียน ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดจากโรคสมาธิสั้นครับ และถ้าหากเป็นจากสาเหตุนี้จริงก็จะต้องรักษาด้วยยาในกลุ่มที่ช่วยกระตุ้นให้คงสมาธิได้ดีขึ้นครับ
แต่ทั้งนี้อาการข้างต้นก็ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้อีก เช่น
- การขาดทักษะในการควบคุมอารมณ์ที่ดีพอ
- โรคซึมเศร้า
- โรคไบโพลาร์
- โรคระเบิดอารมณ์เป็นครั้งคราว (Intermittent explosive disorder)
- ความผิดปกติของบุคลิกภาพบางอย่าง
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แล้วมีวิธีรักษาหรือแก้ไขเบื้องต้นมั้ยคะ
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
อาการที่ว่ามานั้นนเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ
โดยส่วนมากเกิดได้จากความไม่สบายทางอารมณ์และความคิด แต่หากเป็นพฤติกรรมที่เป็นมานานอาจเกิดได้จากบุคลิกภาพ ที่เรียกว่า borderline ครับ
ลักษณะที่พบได้ในผู้ป่วยนี้คือ มักมีความรู้สึกว่างเปล่า กลัวการถูกทิ้ง เดี๋ยวรักเดี๋ยวเกลียด ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ วู่วาม อาจมีการทำร้ายตนเอง ได้ครับ
การรักษาค้องใช้ทัง้จิตบำบัด และ การรักษาด้วยยาจิตเวช ครับ ฉะนั้นควรไปพบจิตแพทย์เพื่อปีะเมินอาการและรับการรักษาที่เหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณค่ะ🙏🏻
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ที่พอจะแก้ด้วยตัวเองในเบื้องต้นได้นั้นจะเป็นส่วนของการควบคุมอารมณ์ครับ
เมื่อไหร่ก็ตามที่สังเกตว่าตัวเองเริ่มมีอารมณ์โกรธหรือโมโห หมอก็แนะนำว่าควรดึงตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์โกรธก่อน จากนั้นก็ให้พยายามสูดหายใจเข้าลึกๆและหายใจออกยาวๆอย่างช้าๆ ทำซ้ำไปเรื่อยจนอารมณ์เริ่มเย็นลง แล้วจึงค่อยกลับไปแก้ไขสถานการณ์ที่ทำให้โกรธและพูดคุยกับคนที่ทำให้โกรธอีกครั้ง การที่กลับไปแก้ไขสถานการณ์ในช่วงที่อารมณ์เย็นแล้งจะทำให้มีการใช้เหตุผลที่ดีขึ้นและป้องกันการใช้คำพูดที่รุนแรงไม่เหมาะสมได้ครับ
นอกจากนี้หมอก็ขอเสริมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความผิดปกติของบุคลิกภาพอีกเล็กน้อยนะครับ
ความผิดปกติของบุคลิกภาพนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติได้ แต่ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่บุคลิกภาพผิดปกติแบบ borderline เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีบุคลิกภาพผิดปกติอีกหลายแบบที่จะทำให้เกิดอารมณ์โกรธที่มากผิดปกติได้ครับ ซึ่งการที่จะยืนยันได้ว่ามีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพหรือไม่ก็จะต้องมีการตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมจากจิตแพทย์ รวมถึงต้องมีการตรวจแยกจากสาเหตุอื่นๆตามที่หมอได้กล่าวถึงไปในตอนแรกก่อน
ในกรณีนี้หมอจึงแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมมากที่สุดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ 🙏🏻💪🏻
เป็นเหมื่อนกันยั้งมือไม่อยู่อารมณ์ร้อนชอบตีเพื่อน
เวลาโมโหชอบลืมตัวเผลอพูดไม่ดีออกไป พยายามเอาชนะคนที่เราทะเลาะด้วย พยายามพูดให้ตั้วเองถูกเสมอ (ไม่รู้ตัวเลยว่าทำอย่างนั้นลงไปแต่พออารมณ์ดีขึ้น ใจเย็นขึ้นก็รู้ตัวว่าทำผิด) แล้วก็ขี้ลืมมากๆพูดไปไม่ถึงนาทีก็ลืมแล้ว ตีความคำพูดผิดตอบไม่ตรงคำถาม เรียนหนังสือไม่ค่อยเก่งด้วย อยากถามว่าอาการแบบนี้คืออาการของโรคสมาธิสั้นมั้ยคะแล้วถ้าใช่ต้องรักษายังไงคะ อยากแก้อาการที่เป็นอยู่ตอนนี้มากๆเลยค่ะทำยังไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)