January 28, 2021 11:48
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
โดยปในช่วงที่รับประทานยาคุม yaz ประจำเดือนจะมาในวันที่รับประทานยาเม็ดแป้งวันใดวันหนึ่งครับ ในกรณีนี้หมอคืดว่าสามารถรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้ยังไม่ต้องกังวลครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
เป็นปกตินะครับ ถ้ากินยาคุม ประจำเดือนจะมาช่วงเม็ดเเป้งนะครับ ไม่ได้มาตามรอบปกติของเราครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้าทานเม็ดแป้งหมดแล้ว ประจำเดือนยังไม่มา ควรไปตรวจเลยรึป่าวคะคุณหมอ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถ้ารับประทานยาเม็ดแป้งหมดแล้วประจำเดือนยังไม่มาเบื้องต้นอาจลองตรวจดารตั้งครรภ์โดยใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าของวันที่จะรับประทานยาแผงใหม่ดูก่อนได้ครับ ถ้าตรวจแล้วไม่พบการตุ้งครรภ์ก็สามารถรับประทานยาคุมต่อไปได้ก่อน แต่ถ้าหลังจากนี้ยังคงมีประจำเดือนขาดหายไปอีกในรอบเดือนต่อไปก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ระหว่างทานยาคุมกับฝังยาคุม อันไหนผลข้างเคียงน้อยกว่ากันหรอคะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
การฝังยาคุมกับการรับประทานยาคุมผลข้างเคียงจะไม่แตกต่างกันมากๆครับ ผลข้างเคียงหลักๆที่พบได้บ่อยจะเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม แต่สำหรับการฝังยาคุมนั้นบางคนอาจมีประจำเดือนขาดหายไปในระหว่างที่ฝังยาคุมอยู่ได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้าเคยโดนฉีดยาคุมแล้วผลข้างเคียงคือซึมเศร้าและร้อนผ่าวขึ้นหัว อย่างงี้จะสามาถฝังยาได้ไหมคะ จะมีผลข้างเคียงไหมคะ
แล้วการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ แต่ไม่ได้หลั่งภายใน มีโอกาสท้องสูงไหมคะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ตัวยาฮอที่ใช้ในยาคุมแบบฉีดและแบบฝังจะมีความแตกต่างกันครับ จึงไม่จำเป็นว่าถ้าเคยฉีดยาคุมแล้วมีอาการซึมเศร้าแล้วพอฝังยาคุมก็จะต้องมีอาการซึมเศร้าไปด้วย แต่อาการซึมเศร้าก็เป็นผลข้างเคียงหนึ่งที่เกิดได้จากการฝังยาคุมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
การมีเพศสัมพันธ์โดยการหลั่งนอกมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 4-22% ครับ เนื่องจากอาจมีอสุจิที่ปนอยู่ในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายหลุดลอดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
4-22% นี้คืออเปอร์เซ็นต์ถ้าไม่ทานยาคุมใช่ไหมคะ ถ้าทานยาคุมแล้วเปอร์เซ็นต์จะลดลงอีกมั้ยคะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถ้าหากรับยาคุมอยู่โอกาสตั้งครรภ์ก็จะอยที่ 0.3-9% ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีเพศสัมพันธ์กับแฟน กินยาคุม yaz แผงที่สองแล้วกำลังจะหมดแผง แต่ประจำเดือนยังไม่มา ซึ่งเลยกำหนดที่จะต้องมา 5 วันแล้ว ซึ่งบางครั้งมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงร่วมด้วย มีการสอดใส่ไปภายใน แต่ไม่ได้หลั่งภายในค่ะ รอบเดือนที่แล้วมาวันแรกวันที่ 26 ธค โดยปกติหากไม่ทานยาคุมเดือนนี้ประจำเดือนจะต้องมาวันที่ 24 มค แต่พรุ่งนี้จะต้องเริ่มทานเม็ดแป้งเม็ดแรกของแผงที่สอง ประจำเดือนยังไม่มา ซึ่งเดือนที่แล้วประจำเดือนมาก่อนจะเริ่มทานเม็ดแป้งอีก แต่มาในปริมาณที่น้อยลงกว่าปกติมาก เป็นไปได้ไหมที่ทานยาคุมแล้วประจำเดือนจะไม่มา แต่จะไม่ได้ท้อง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)