January 30, 2021 20:03
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีแผลสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น แผลถลอกทั่วไป แผลจากติดเชื้อบางอย่าง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่าง
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ต้องดูลักษณะของแผลครับ
เช่น
- เเผลริมอ่อน (Chancroid) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ก้นแผลจะค่อนข้างสกปรก ปวดเเสบ การรักษา คอการฉีดยาฆ่าเชื้อเข้ากล้ามเนื้อหรือกินยาฆ่าเชื้อครับ
- แผลเริม เป็นกลุ่มของตุ่มใสๆขอบเเดง พอเเตกจะเเสบครับ การรักษาคือการกินยาฆ่าเชื้อครับ (หายเองได้ เเต่ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เเละมักจะขึ้นหลังรับเชื้อมาประมาณ4วัน)
- แผลริมเเข็ง(Chancre) จาก การติดเชื้อ ซิฟิลิส มักเป็นแผลก้นสะอาด ไม่เจ็บ การรักษารือการฉีดยาฆ่าเชื้อครับ
หรือเเผลอื่นๆเช่น ติดเชื้อราเเล้วเปื่อยจนเป็นแผล แผลจากการเสียดสีตอนมีเพศสัมพันธ์ครับ เบื้องต้นงดเเคะเเกะเกา เเนะนำให้ดูเเลเรื่องการอับชื้น งดใส่กางเกงในรัด ซับให้เเห้งหลังอาบน้ำ หาเวลาปรึกษาเเพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ผมใส่รูปแล้วครับ รบกวนหมอช่วยดูอีกทีครับ
หมอบอกว่าเกิด จากถอลก เสียดสีครับ ผมไม่ได้ขลิบครับ แต่แผลกว่าจะหายนานไหมครับ
ผมใส่รูปใหม่แล้วครับ รบกวนหมอช่วยดูอีกทีครับ
มันจะเป็นแผลเป็น รอยแผลไหมครับ กังวลตรงนี้ครับ
เป็นแผลที่อวัยวะเพศ เหมือนแผลถลอก เสียดสี วันที่มีเพศสัมพันธ์เหมือนไม่ค่อยมีนำ้หล่อลื่น แต่ใส่ถุงยางป้องกันตลอด วันถัดมาเหมือนมีแผลเจ็บๆมีหนอง จนผ่านมาตอนนี้แล้ว แผลไม่เจ็บไม่มีหนองแล้ว เกิดจากเป็นแผลอะไรครับ ผ่านมาอาทิตย์นึงแล้ว แผลค่อยๆเล็กลง แต่แผลหายช้ามากเลยครับ ปกติแผลจะหายแล้วกลับมาปกตินานไหมครับ จะเป็นรอยแผลไหมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)