March 31, 2020 00:32
ตอบโดย
นันทิดา
สาลักษณ (แพทย์ผิวหนัง)
(พญ.)
Dermatologist
จากรูปนั้นอาจจะต้องตรวจที่หนังศีรษะและเส้นผมใกล้ๆอีกครั้งค่ะ เนื่องจากอาจเป็นได้ทั้งเรื่องของผิวหนังอักเสบที่หนังศีรษะ หรืออาจเป็นโรคดึงผมตนเองก็ได้ ซึ่งมีวิธีรกษาที่ต่างกัน คืออาจมียาทาเพื่อลดการอักเสบหากมีการอักเสบจริง แต่หากเป็นเรื่องดึงผมอย่างเดียวมักเกิดจากเรื่องของอารมณ์และการทำงานบางอย่างของสมองที่ควบคุมเรื่องอารมณ์พฤติกรรมเป็นต้น ซึ่งหากเป็นโรคนี้จะต้องมีการบำบัดด้านพฤติกรรมหรือมียารับประทานบางชนิดค่ะ ดังนั้นแนะนำว่าพบแพทย์ผิวหนังตรวจจริงก่อนจะดีที่สุดค่ะ
ส่วนอาการที่ 2 นั้นอาจเกิดจากการเล่นโทรศัพท์มากไปก็ได้ค่ะ เนื่องจากหากมีการจ้องอะไรนานๆโดยเฉพาะในท่าก้มอาจจะทำให้เกิดความตึงของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ เกิดอาการปวดศีรษะ รวมทั้งเมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือเงยหน้าเร็วก็อาจทำให้มีอาการมึนหรือเหมือนจะวูบเหมือนจะหน้ามืดได้ ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่จ้องโทรศัพท์นานๆหรือก้มนานๆ อาจต้องมีการผ่อนคลายอิริยาบถในระหว่างนั้น ในเบื้องต้นสำหรับอาการปวดศีรษะสามารถทานยาแก้ปวดเบื้องต้นเช่นพาราเซตามอลได้ แต่หากไม่ดีขึ้นมีอาการปวดรุนแรงไม่มีอาการอื่นๆอีกร่วมด้วยแนะนำปรึกษาแพทย์อายุรกรรมที่โรงพยาบาลเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะ 1.พอดีหนูมีอาการดึงผมตัวเองมา 5 ปี พยายามที่จะไม่ดึงแล้วแต่ก็ทำไม่เคยได้เลยค่ะ หนูเลยไปค้นมา ตึงพบว่าเป็นโรคดึงผม ซึ่งมีหลายคนเป็นมาก แต่หลังๆมานี้หน้งศรีษะบริเวณที่หนูดึงผมมีอาการแบบนี้(ตามรูปที่แนบค่ะ) หนูเลยอยากสอบถามคุณหมอว่า - ทำอย่างไรหนังศีรษะบริเวณที่หนูดึงมันถึงจะหาย ต้งอใช้ยาตัวไหนมั้ย - มันจะมีอาการเกี่ยวข้องทางผิวหนัง หรือสมองหรือเส้นประสาทมั้ยคะ 2. เวลาที่หนูเล่นโทรศัพท์หรือดูหนังนานๆในโทรศัพท์มีอาการปวดหัวมากค่ะ อาหารตุบๆ บริเวณขมับ บางทีถ้าลุกเร็วก็จะหน้ามืด ต้องทำอย่างไรถึงจะรักษาได้เหรอคะ รบกวนขอคำปรึกษาคุณหมอหน่อยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ🙏😭
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)