August 01, 2021 12:15
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีภาพคิดถึงการฆ่าตัวตายอยู่ในหัวซ้ำๆนั้นเป็นอาการหนึ่งที่เกิดได้จากการเป็นโรคซึมเศร้าครับ
วิธีการจัดการความคิดในเบื้องต้นด้วยการปล่อยผ่านและไม่สนใจความคิดตามที่ทางจิตแพทย์แนะนำมานั้นถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้ครับ เพรยงแต่ว่าถ้าอาการนี้เป็นอยู่บ่อยๆและรบกวนมาก ก็อาจต้องมีหารปรับยาที่รับประทานอยู่เพิ่มเติมครับ
หมอแนะนำว่าควรลองปรึกษากับทางแพทย์เจ้าของไข้เพื่อพิจารณาเรื่องการปรับยาดูครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
แล้วถ้าหนูปล่อยผ่านและไม่สนใจความคิด แต่มันก็ยังผุดขึ้นมาในหัวบ้างในสถานที่นั้นๆที่หนูอยู่ หนูควรจะทำอย่างไรกับความคิดนี้ดีอะคะ มันจะหายมั้ย คือหนูกินยามาหลายปีแล้วค่ะ กินยาเยอะก็ไม่ได้ทำให้หนูดีขึ้นเลย คุณหมอพอจะมีวิธีหรือคำแนะนำเล็กน้อยที่พอจะช่วยให้หนูสามารถหยุดความคิดนี้อีกได้มั้ยคะ หนูแค่อยากจะขอวิธีเวลาคุณหมอเจอคนไข้วิตกกังวลแล้วมีวิธีการแนะนำทริคปรับความคิดให้พวกเขาอย่างไรอะคะ
สวัสดีค่ะ หนูคิดว่าตัวเองมีปัญหาทางจิตมาตั้งแต่ตอนตัวเองอยู่ม.6 (ตอนนี้ปี3แล้ว) เรื่องมันมีอยู่ว่าในช่วงที่หนูรู้สึกดาวน์ตลอดเวลาตอนนั้น อยู่ดีๆหนูก็นึกภาพหลอนขึ้นมาในหัวหนู ซึ่งมันจะไปปรากฎในที่ใดที่หนึ่งของสถานที่นั้นๆที่หนูอยู่ทุกที่เลยค่ะ คือหนูนึกภาพคนผูกคอตาย พอหนูไปที่ไหน ภาพนั้นมันก็จะอยู่มุมใดมุมหนึ่งของห้อง หนูเอาภาพนี้ออกจากหัวหนูไม่ได้ ทุกวันที่หนูตื่นมาหนูจะกลัวตัวเอง ทำไมเราต้องคิดภาพนี้อยู่ตรงสถานที่เดิมๆ หนูรักษาด้วยการกินยาของจิตแพทย์ให้ แล้วหมอบอกให้หนูคิดแค่ว่าไม่ต้องไปไล่ความคิดตัวเอง ยิ่งไล่มันยิ่งอยู่ สรุปคือทุกวันหนูพยายามจะปล่อยวาง ถ้ามันแวบเข้ามาในหัวหนูก็จะทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่หนูก็ยังเป็นแบบนี้มา3ปีกว่าแล้วค่ะ หนูคิดภาพเดิมซ้ำๆทุกวัน คิดไปถึงอนาคตถ้าเรายังเป็นแบบนี้อยู่ เราฆ่าตัวตายไปเลยดีมั้ย ทำไมคนอื่นเค้ามีจิตปกติ แต่เราจิตไม่ปกติ ไม่ได้เสพยาหรืออะไรทั้งสิ้นค่ะ หนูเครียด ไปหาจิตแพทย์แต่มันไม่มีอะไรดีขึ้นเลยค่ะ ทำยังไงหนูถึงจะกำจัดภาพหลอนในหัวแบบนี้ออกไปได้คะ😭
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)