February 25, 2020 18:22
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ถ้าหากมีอาการร้องไห้ง่าย เสียใจบ่อยๆ คิดอะไรช้าลงจนมีผลกระทบต่อการเรียนการทำงานก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมดศร้านั่นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรติดต่อกันนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ
- ทำอะไรช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตัวเองน้อยลง
- มีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ยิ่งถ้ามีอาการตามนี้หลายๆข้อก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
การรักษาด้วยยาคลายเครียดและยาปรับอารมณ์ต่างๆนั้นจำเป็นต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและจะต้องมีการตรวจยืนยันสาเหตุให้แน่ชัดแล้วเท่านั้นครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อยากรับยาคลายเครียดค่ะ หนูเรียนมหาลัยอยู่ อายุ20ค่ะ ร้องไห้ทุกวัน ไม่รู้ว่าเพราะอะไร เหมือนสมอง กับความรู้สึก ทำงานไปคนละทางกัน สมองคิดดี มีเหตุผล ใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่ความรู้สึกมันแย่มาก จนช่วงหลังๆมานี้กระทบกระเทือน ชีวิตประจำวันค่ะ เช่น จะพรีเซ้นงานส่งอาจารย์ สมองพร้อมมาก แต่ความรู้สึกมันตื่นเต้น ก็มือเย็นเท้าเย็น พะอืดพะอมคลื่นไส้ อาเจียน เบลอๆ แห้งคอ หรือ ถูกวิจารณ์งาน สมองก็จะโอเคยอมรับ จะนำไปแก้ไขปรับปรุง พัฒนาตนเอง แต่พอหลุดจากตรงนั้นปุ้ป ปวดหัวเลยค่ะ เบลอ ร้องไห้ เสียใจ น้อยใจ ไม่ทำอะไร ไม่มีจิตใจจะทำ ร้องไห้ได้เป็นวันๆ ได้ทุกวันค่ะ คิดว่าแบบ เราคิดดีแล้วนะ เราต้องทำงานสิ ขยันอีกสิ ตั้งใจมากกว่านี้สิ แต่ร่างกายมัน ชาๆ ไม่มีใจจะทำเลยค่ะ คิดอะไรไม่ออก ใครพูดอะไรตามไม่ทัน คิดช้า สมองเบลอ แก้ยังไงดี สั่งยาออนไลน์ได้ไหม มีอะไรช่วยได้บ้างคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)