February 26, 2020 13:05
ตอบโดย
นันทิดา
สาลักษณ (แพทย์ผิวหนัง)
(พญ.)
Dermatologist
แนะนำให้ควรไปฉีดวัคซีนนะคะ แม้จะผ่านมาแล้ว และแผลเป็นแผลเปิดอาจค่อนข้างลึก เพระบาดทะยักมีวัคซีนที่ป้องกันได้ แต่หากเป็นแล้วจะร้ายแรงค่ะ อีกทั้งการไปรพ.เพื่อการตรวจแผลและรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการติดเชื้อตามมาด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
1.ควรพบเเพทย์ เพื่อพิจารณายาฆ่าเชื้อครับ ถ้าปล่อยไว้เเล้วริดเชื้อเเบคทีเรียเเทรกซ้อนจะยิ่งรักษายากครับ
2. โรคบาดทะยักมีระยะฟักตัวคือ ตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการประมาณ 8 วัน(อยู่ในช่วง 3 - 21 วัน) ผู้ป่วยที่ติดเชื้อบาดทะยัก
จะมีอาการเช่น กรามเเข็ง กล้ามเนื้อเเข็งเกร็ง มีกล้ามเนื้อเเข็งทั้งตัวตัวงอเป็นสะพานโค้ง ปวดมาก
เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดตรงตำแหน่งไหนหรือจากสาเหตุอะไรก็ตาม ควรพบแพทย์ครับ
ในกรณีที่แผลนั้นมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างสกปรก เช่น แผลจากอุบัติเหตุรถชน โดนเศษแก้วจากกองขยะบาด แผลสัตว์กัด หรือตะปูสกปรกตำครับ
ถ้าฉีดวัคซีนมาครบตามกำหนดแต่ฉีดวัคซีนเข็มสุด ท้ายมานานกว่า 5 ปี ต้องฉีดวัคซีนบาดทะยักกระตุ้นครับ
ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนหรือฉีดไม่ครบตามกำหนดนอกจากจะต้องฉีดวัคซีนบาดทะยักทั้งหมดสามเข็มแล้ว ต้องให้แอนติบอดีเพื่อไปทำลายพิษในครั้งเเรกด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะคุณหมอ พอดีดิฉันเดินไปเหยียบตะปู3นิ้วเข้าจังๆเรยค้ะ เหยียบมา3วันแร้ว แต่ไม่ได้ไปโรงบาลน้ะค้ะ จะเป็นอันตรายมั้ย เพราะเคยฉีดกันบาดทะยักตอนโดนสุนัขกัน แต่มันก็นานพอสมควรแร้ว อยากทราบว่ามันจะเป็นอะไรมั้ยค่ะถ้าหากเราไม่ฉีดยากัดบาดทะยัก ปล รูปแรกตอนเหยียบวันแรก รูป2ตอนปัจจุบัน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)