December 29, 2019 19:07
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
เวลาที่คนเรามีความเครียดหรือความกังวลมากๆนั้นจะทำให้มีอาการทางกายหลายๆอย่างตามมาได้ครับ เช่น มือสั่น ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น ซึ่งถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยๆจนมีผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคในกลุ่มโรควิตกกังวลหรือโรคแพนิคได้ครับ
นอกจากนี้ถ้าหากความเครียดความกังวลที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งของ สถานการณ์ที่ตำเพาะ หรือสิ่งที่ใกล้เคียงกับประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีตบางอย่างก็ต้องมีการตรวจประเมินเพิ่มเติมด้วยว่ามีตัวกระตุ้นใดอยู่บ้าง เพื่อที่จะได้สามารถให้การรักษาและให้การช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะ จะสอบถามเรื่องอาการเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมองค่ะว่ามีความผิดปกติทางโรคประสาทหรือจิตเวชไหม คือมีอาการวิตกกังวลง่ายแล้วก้อเครียดง่ายค่ะ มีอาการใจสั่น ชีพจรเต้นเร้ว มือเน้นและมีเหงื่อออกที่ฝ่ามือ ทุกครั้งเวลาเครียดหรือวิตกกังวลค่ะ บางทีท้าเครียดมากๆ จะมีอาการชอบจับผมตนเองซ้ำๆแต่ไม่ถึงขั้นดึงค่ะ บางทีก้อมีอาการอารมณ์ขึ้นๆลงๆเครียดบ้างหรืออเลิดไปเลย อาการมักเป้นขึ้นๆลงๆ แล้วบางทีพอเวลามีเรื่องไม่สบายใจมากๆก้อจะไม่สามารถควบคุมการแสดงออกทางสีหน้าทางอารมณ์ได้เป็นบางครั้งค่ะ บางทีท้าเวลาตื่นเต้นหรือรู้สึกกดดันจะมีอาการตัวสั่นรวมไปถึงมีอาการก่อนหน้านี้ที่มือเย้นเหงื่อออก เช่น เวลาที่ต้องออกการแสดงต่อหน้าผู้คน หรือเวลารายงานหน้าห้องค่ะ แล้วก้อเป็นคนที่กลัวง่ายค่ะ อย่างเช่น กลัวเครื่องมือทางการแพทย์อย่างไม่มีสาเหตุ กลัวไปก่อนล่วงหน้าอะค่ะ อยากทราบว่าอาการเหล่านี้เกิดจากโรคอะไร แล้วเกิดจากปัจจัยอะไร แล้วมีวิธีการรักษาไหมคะ ขอบคุณค่า:)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)