February 05, 2020 13:15
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดคัดตึงเต้านมมากผิดปกติโดยไม่ได้อยู่ในช่วงที่จะมีประจำเดือนนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีระดับฮอร์โมนในเลือดแปรปรวน
- การอักเสบติดเชื้อของเต้านม
- ฝีที่เต้านม
- ซิสต์ที่เต้านม
เป็นต้น
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
อนรรฆวี ฉง (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการปวดตึงคัดเต้านมอาจมีอาการได้ในช่วงที่ไข่ตก คือหลังจากมีประจำเดือนประมาณเกือบ 2 สัปดาห์ เท่าที่ฟังจากอาการที่เล่ามาดูคล้ายอาการปวดตึงคัดเต้านมจากฮอร์โมนการตกไข่ค่ะ ซึ่งหากมีภาวะคัดตึงเต้านมอยู่ การสัมผัสอาจจะทำให้มีอาการปวดตึงได้แต่ไม่รุนแรง แต่หากมีอาการปวดมากรุนแรง มีเต้านมบวม/แดง/ร้อน คลำก้อนได้ มีของเหลวไหลผิดปกติจากหัวนม เต้านมผิดรูป หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ อาจแนะนำพบแพทย์ใกล้บ้านเพื่อทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติม และหากมีภาวะให้นมบุตรหรือมีประวัติอุบัติเหตุอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้มีความผิดปกติ เช่น ภาวะเต้านมอักเสบหรือภาวะการช้ำของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม
แนะนำอาจลองรับประทานยาแก้ปวดเพื่อลดอาการ เช่น พาราเซตามอล หรือ ยาแก้ปวดอักเสบกลุ่ม nsaids เช่น ไอบูโพรเฟน หากอาการไม่ดีขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์หน้านำพบแพทย์ใกล้บ้านเพื่อความปลอดภัยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอนนี้มีอาการปวดคัดเต้านม อาการปวดจะเหมือนช่วงที่มีประจำเดือน แต่ประจำเดือนมาแล้วและเพิ่งหมดไปเกือบอาทิตย์แล้ว อาการปวดเกิดเมื่อไปสัมผัสโดน ขณะเดิน ขณะวิ่ง อาการแบบนี้ถือว่าปกติไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)