February 11, 2020 15:32
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการถ่ายเป็นเลือดนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นโรคลำไส้อักเสบครับ ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ครับ เช่น
- โรคริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่เกิดจากการท้องผูกนานๆ ขับถ่ายยาก
- มีบาดแผลบริเวณรูทวารหนัก เป็นโรคที่บริเวณทวารหนักได้รับบาดเจ็บจากอุจจาระที่แข็ง
- ติดเชื้อในลำไส้ใหญ่
การวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
โดยปกติแล้วถ้ามีลำไส้อักเสบก็มักจะทำให้มีอาการถ่ายเหลวร่วมกับมีเลือดปนมากกว่าที่จะมีอาการท้องผูกครับ
ในกรณีนี้จึงต้องมีการประเมินอาการแยกจากสาเหตุอื่นๆด้วย เช่น
- มีแผลในทางเดินอาหาร จะทำให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำหรือมีเลือดปนได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีเลือดอออก โดยเลือดยิ่งออกมาใกล้ทวารหนักมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีลักษณะเป็นเลือดสดมากขึ้น
- มีแผลที่ทวารหนัก จะทำให้มีอาการแสบที่ทวารหนัก เป็นแผล จากการถ่ายอุจจาระออกมาเป็นก้อนแข็งเสียดสีกับทวารหนัก
- ริดสีดวงทวาร จะทำให้มีติ่งเนื้อผิดปกติยื่นออกมาจากทวารหนัก อาจยื่นเข้าออกจากทวารหนักได้ ร่วมกับมีอาการถ่ายเป็นเลือดเคลือบบนผิวอุจจาระ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เคยเป็นโรคลำไส้อักเสบ ตอนนี้มีอาการท้องผูก ถ่ายมีเลือดออกมาด้วย จุกท้อง ปวดท้อง แบบนี้คืออาการกลับไปเป็นลำไส้อักเสบใช่ไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)