May 23, 2018 21:04
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
การเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักนั้น ควรลดการปรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมากๆ เช่น อาหารประเภททอด หนังสัตว์มันสัตว์ เนย เลือกรับประทานอาหารประเภทต้ม นึ่งเป็นหลัก
ลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ไม่จำเป็น เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ชา/กาแฟที่เติมน้ำตาล ขนมขบเคี้ยวระหว่างมื้อ ขนมปัง เบเกอรี่ที่ผ่านการปรุงแต่งมากๆ
และควรเพิ่มการรับประทานอาหารประเภทผักให้มากขึ้น เนื่องจากให้พลังงานน้อย และช่วยให้ท้องอิ่มเร็วขึ้น มื้อไหนที่รู้สึกไม่อิ่มให้กินผักไปเยอะๆครับ จะช่วยให้อิ่มได้ดี
แต่การรับประทานผักก็ต้องระวังการรับประทานกับน้ำสลัดปริมาณมากๆนะครับ เพราะพี่จะให้พลังงานสูงเกินไป(น้ำสลัดที่ให้พลังงานต่ำคือน้ำสลัดแบบญี่ปุ่นครับ)
ผลไม้สามารถรับประทานได้ครับ แต่ให้รับประทานอย่างพอดี พยายามอย่าเลือกผลไม้ที่มีรสหวานมาก เนื่องจากในผลไม้ก็มีน้ำตาลอยู่เช่นกัน
ที่สำคัญ อย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอครับ เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และอัตราการเผาผลาญของร่างกาย
การออกกำลังกายเพื่อการลดน้ำหนัก ควรเลือกการออกกำลังกายที่มีการขยับตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดพัก เช่น เต้นแอโรบิค วิ่ง ว่ายน้ำ เป็นต้น
ควรออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ไม่ควรหยุดออกกำลังกายติดต่อกันเกิน 2 วันครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
-อาการโรคความเครียดสะสม มักมีอาการนอนไม่หลับ หลีกหนีผู้คนชอบอยู่คนเดียว หลีกหนีปัญหาและสิ่งต่างๆที่กระทบกระเทือนจิตใจต่อเรื่องที่ผู้ป่วยเครียด อารมณ์ไม่ดีก้าวร้าวขุ่นมัว มีความกังวลไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเรียนนั้นๆ ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการปวดศีรษะตื้อๆโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอยและร้าวมาที่บริเวณขมับทั้ง2ข้าง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก รับประทานอาหารไม่ลง น้ำหนักลดได้ครับ
-การรักษาคือผู้ป่วยต้องทราบก่อนว่าสิ่งใดที่ทำให้ผู้ป่วยเครียด และไม่ควรหลีกหนีปัญหา ต้องแก้ไขสิ่งที่ทำให้เครียด รีบมือกับปัญหา โดยอาจปรึกษาจิตแพทย์เพื่อแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งพูดคุยกับคนรอบข้าง พ่อแม่ คนรัก เพื่อนสนิทเพื่อระบายความเครียด หากมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วยอาจพิจารณาให้ยานอนหลับถ้ามีอาการเป็นค่อนข้างมาก แต่ทั้งนี้ควรได้รับการประเมินโดยจิตแพทย์ก่อนใช้ยา ไม่ควรไปซื้อยาตามร้านขายยาครับ ร่วมกับให้จิตแพทย์ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายร่างกายตนเองด้วย
การรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหารและออกกำลังกาย
-ในการรับประทานอาหาร 1 มื้อ ควรกินผัก ผลไม้ ให้ได้ประมาณครึ่งนึงของอาหารทั้งหมดครับ อีก25% ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่ติดมันน้อย เช่น ปลา ไข่ขาว อกไก่เป็นต้นครับ อีก25% สุดท้านคืออาหารจำพวกแป้ง ข้าวกล้อง เป็นต้นครับ
-ส่วนน้ำมันที่ใช้ทำอาหารถ้าเลี่ยงได้ไม่ควรกินอาหารทอด กวนกินอาหาร ต้ม นึ่ง มากกว่า หากต้องการกินอาหารทอดหรือใช้น้ำมันแนะนำ ให้ใช้น้ำมันพืช เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ยกเว้นน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
-ส่วนเครื่องปรุงลดพวก น้ำปลา ซอสถั่วเหลือ น้ำตาล ลงครับ
สูตรแนะนำการกินให้ใช้สูตร Intermittent fasting (IF) คือรับประทานอาหาร8 ชั่วโมง อยากกินอะไรในช่วงนี้กินได้ครับ อีก16 ชั่วโมงให้งดอาหาร เช่น เริ่มทานอาหารได้8โมงเช้าถึง4โมงเย็น หลังจากนั้นให้งดอาหาร และเริ่มทานใหม่อีกครั้งในช่วง8 โมงเช้าของวันใหม่ครับ วิธีนี้จะสามารถลดน้ำหนักค่อนข้างได้ผลครับ
-การออกกำลังกาย เลือกการออกกำลังกายแบบต่อเนื่องเช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเดินเร็ว เป็นเวลา ประมาณ 30 นาที สัปดาห์ละ5ครั้ง รวมระยะเวลาการออกกำลังกายให้ได้ 150นาที/สัปดาห์ครับ หรือถ้าเป็นการออกกำลังกายอย่างหนัก คือเหนื่อยมากจนไม่สามารถพูดได้เป็นคำๆ ให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ3ครั้ง ครั้งละ30นาที รวมระยะเวลา สัปดาห์ละ90-100 นาที ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อาการโรคความเครียดสะสมนี่เป็นอย่างไรคะ แล้วจะมีวิธีแก้ไขมั๊ย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)