February 01, 2021 17:12
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าปวดเหมือนประจำเดือนเลย ก็อาจเป็นภาวะปวดประจำเดือนได้ครับ รอบนี้อาจมาเร็ว
อาการอาจจะเกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และในช่วงการมีประจำเดิอน ประมาณ 12-72 ชมแรกครับ
อาการปวด จะปวดแบบบีบๆ เหนือหัวหน่าวบริเวณท้องน้อย อาจร้าวไปหลังได้ด้วย
วิธีการรักษาเบื้องต้นคือ นอนพัก รับประทานยาเเก้ปวด เช่น Ponstan Naproxen ,วางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องหรือออกไปเดินเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะพอช่วยได้ครับ
การกินยาเเก้ปวด ควรกินก่อนประจำเดือนมา คือ กินก่อนที่จะปวด\กินตอนปวดน้อยๆ จะช่วยลดปวดได้ดีกว่าครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดท้องเวลามีประจำเดือนนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวจึงมีอาการปวดท้องตามมาครับ อาการนี้มักจะค่อยๆลดลงเรื่อยไปเมื่อประจำเดือนเริ่มหมดไป
ในเบื้องต้นนั้นสามารถรับประทานยาแก้ปวด Ponstan เพื่อบรรเทาอาการก่อนได้ครับ แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือนรุนแรงมาก หรือเป๋นบ่อยๆ ก็ควรไปพบแพทย์สูตินรีเวชเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือนเป็นมา 4-5 วันแล้วค่ะ ปวดเบาๆ และมีสลับปวดหนักแบบแป๊บ รู้สึกสะดุ้งที่ก้นด้วนเวลาที่เจ็บแปลบ ตอนปวดไม่ได้กินยาลดปวดใดๆเลยค่ะ ข้อมูลเพิ่มเติม อายุ 28 น้ำหนัก 58 สูง 167 ค่ะ ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคยตรวจภายในด้วนค่ะ ตามปฏิทินบันทึกประจำเดือนอีก 6 วันประจำเดือนถึงจะมา ทุกเดือนประจำเดือนมาตรงทุกครั้งอาจคาดเคลื่อนวันสองวัน ปริมาณก็ไม่มากไม่น้อยค่ะ มีเดือนเมื่อกี้ที่มาน้อย คือโดยปกติแล้วคุณหมอจะสันนิฐานได้ไหมคะว่าเป็นอะไร โดยไม่ต้องตรวจภายใน หรืออาการแบบนี้จำเป็นต้องตรวจภายในอย่างเดียวคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)