February 25, 2020 06:20
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
เวลาที่เป็นประจำเดือนนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายทำให้มดลูกมีการบีบตัวและขับเอาเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาครับ ซึ่งก็อาจทำให้มีอาการปวดที่บริเวณท้องและอุ้งเชิงกรานได้
อย่างไรก็ตามถ้าหากมีอาการปวดที่บริเวณทวารหนักเวลาที่มีประจำเดือนมากผิดปกติก็อาจเกิดจากความผิดปกติบางอย่างได้ครับ เช่น มีการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งในกรณีนี้หมอก็แนะนำว่าอาจไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมดูก่อนได้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ
จากประวัติมีอาการเจ็บบริเวณก้น มักเป็นตอนเช้าก่อนถ่ายอุจจาระ เป็นเวลามีประจำเดือน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ หมอคิดถึงเป็นเรื่องของฮอร์โมนและสารที่หลั่งมาในช่วงประจำเดือนค่ะ คือสาร Prostaglandin ซึ่งสารนี้จะทำให้มีอาการปวดท้องน้อย รวมไปถึงปวดบริเวณก้นได้ค่ะ กรณีนี้ถ้ามีอาการปวดมากหมอแนะนำให้ทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol ยากลุ่ม NSAIDs เช่น Ponstan เป็นต้น กรณีที่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย หรือมีอาการปวดมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้หมอแนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจดูค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คือว่าอยากจะสอบถามว่าเวลาเป็นประจำเดือนทีไรตอนเช้าตื่นนอนปกติจะมาเข้าห้องน้ำเลย แล้วตื่นนอนมาปุ๊ปมันจะเกิดอาการเจ็บที่ก้นแบบว่าเจ็บจี๊ดเป็นระยะๆ จนกว่าจะอุจจาระเสร็จแล้วความเจ็บมันก็จะหายไป มันจะเกิดเป็นโรคอะไรรึเปล่าคะ เพราะว่ามันเป็นทุกเช้าเวลาประจำเดือนมาเลยอ่ะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)