May 23, 2018 18:55
ตอบโดย
รัตติกาล ช่างเสียง (เภสัชกร)
จากอาการข้างต้นมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะอาหารค่ะ เนื่องจากการทานอาหารไม่เป็นเวลา การรักษา
1. แนะนำให้ปรับการทานอาหารใหเป็นเวลมากขึ้น งดกาแฟ และแอลกอฮอล์
2. การทานยากลุ่มบรรเทาอสการแสบท้องโดยการยับยั้งกรดที่หลั่งมาแล้ว เช้น Alum milk หรือยาที่ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเช่น omeprazone
โดยแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจอาการให้อน่ชัดมากจึ้น หรือหากต้องการซื้อยา ให้เภสัชกรร้านยาแนะนำเพิ่มได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
อาการดังกล่าวเป็นอาการของโรคกระเพาะได้ครับ
อาการปวดท้องในโรคกระเพาะมักเกิดขึ้นในช่วงที่ท้องว่างหรือไม่ได้รับประทานอะไรเป็นเวลานาน การกินอาหารเผ็ดๆ ดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้เช่นกัน
การรักษาทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเป็นอันดับแรกครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิอาการตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
หากอาการปวดท้องเป็นหนักมากๆจริงๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาหารครับ
สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือหากมีอาการถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุร่วมด้วย ก็อาจเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่าโรคกระเพาะได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
วันไหนที่ไม่ได้กินอะไรเลยทั้งวัน จะมีอาการปวดท้องแบบรุนแรงมากๆ ถึงขั้นที่ว่าจะยืน จะเดินก็ไม่ค่อยไหว บอกไม่ถูกว่าปวดส่วนไหน มันปวดมากรู้สึกปวดทั่วท้องเลยค่ะ มีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย แต่พอได้กิน มันก็หายค่ะ อยากทราบว่าเป็นโรคหรือเป็นอาการปกติเวลาไม่ได้กินอะไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)