July 24, 2018 12:51
ตอบโดย
พิชญาพร กูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ
จากประวัติเบื้องต้น คาดเดาได้ว่าผู้ป่วยน่าจะมีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นส่วนต้น หรือส่วนปลาย
การเจาะคอ (tracheostomy) คือการรักษาแบบหนึ่ง ที่ช่วยประคองผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้เองด้วยในตอนแรก หรือเจาะคอเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในปอดกรณีที่ใส่ท่อช่วยหายใจนานเกิน 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ การเจาะคอ สามารถปิดรูที่เจาะคอได้ โดยค่อยๆรอเวลาลดขนาดรูลงจนปิดเอง โดยจะสามาถทำได้เมื่อผู้ป่วยสามารถหายใจได้เองเป็นปกติค่ะ หากไม่สามารถปิดรูเจาะคอได้ เมื่อรักษาอาการต่างๆจนสามารถออกโรงพยาบาลได้แล้ว ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการหายใจผ่านท่อที่คอ ซึ่งอาจมีความลำบากในการดูแลเล็กน้อยสำหรับญาติผู้ป่วยที่ไม่ชินกับการพยาบาลผู้ป่วยค่ะ
การเปลี่ยนโรงพยาบาลในการรักษา บอกไม่ได้ว่าจะเป็นผลดี หรือผลเสียต่อผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยค่ะ ทั้งขนาดโรงพยาบาล แพทย์ที่รักษา การรักษาที่ได้รับอยู่ แผนการรักษาระยะยาว ฯลฯ ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าแพทย์ทุกคนมีมาตรฐานเดียวกันในการรักษา อาจมีดุลยพินิจในการวางแผนการรักษาแตกต่างกันไปบ้าง การได้คุยกับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อทำความเข้าใจกับตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การรับรู้พยากรณ์โรค รวมถึงการวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์เจ้าของไข้ จะทำให้ญาติผู้ป่วยเข้าใจในการรักษาพยาบาลมากขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณแม่ไม่สามารถจัดการกับเสมหะเองได้(อย่างอื่นไม่มีปัญหา รักษาหายแล้ว) หมอแนะนำให้เจาะคอ อยากทราบว่าหลังเจาะคอแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณแม่ไม่สามารถจัดการกับเสมหะเองได้(อย่างอื่นไม่มีปัญหา รักษาหายแล้ว) หมอแนะนำให้เจาะคอ อยากทราบว่าหลังเจาะคอแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
ตอบโดย
พิชญาพร กูลนุวัฒน์ (พญ.)
การดูแลผู้ป่วยหลังเจาะคอ มีดังนี้ค่ะ
1. ความชื้น: ผู้ป่วยจะขาดความชื้นบริเวณจมูกและปาก ทำให้เสมหะเหนียวข้น ไอ หายใจลำบาก และเกิดภาวะหลอดลมอักเสบได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทำความชื้นรูปฝอยละออง (nebulizer) โดยใช้น้ำเกลือสะอาดหยดผ่านท่อเจาะคอ
2. การดูดเสมหะ : ควรดูดเมื่อจำเป็น คือ หายใจลำบาก เสมหะมาก ไอออกมาเองไม่ได้
3. การทำความสะอาดแผลผิวหนังบริเวณที่เจาะคอ : เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำเกลือสะอาดเช็ดท่อและแป้นรอบๆ แล้วใช้ก๊อซรองแป้นเพื่อซับเสมหะที่ไหลออกมา หากเชือกผูกสกปรก ควรเปลี่ยนใหม่
4. การทำความสะอาดบริเวณท่อเจาะคอ : ทำทุกวัน โดยใช้น้ำยา hydrogenperoxide นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นทำคงามสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ และน้ำสะอาดหลายๆครั้งจนเกลี้ยง
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขอสอบถามคุณหมอ แม่ผมป่วยแล้วถูกเจาะคอแล้วยังไม่หายเลยอยากจะให้คุณหมอแนะนำหน่อยว่าต้องเปลี่ยนโรงพยาบาลดีไหม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)