September 22, 2021 13:30
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ฟังเเล้วน่าจะเป็น แผลรอยเเยกขอบทวารหนัก (Anal fissure) เกิดจากก้อนอุจจาระที่มันแข็งครูดกับผนังทวารหนักตอนเบ่งถ่ายทำให้เกิดแผลขึ้น เวลาถ่ายจะเจ็บก้น อาจมีเลือดปน ลักษณะเลือดที่ออกจะเคลือบไปบนลำอุจจาระครับ
เบื้องต้นควรรักษาเรื่องท้องผูกครับ
ระหว่างนี้ปรับพฤติกรรม พยายามนั่งเบ่งถ่ายเวลาเดิมทุกวันไม่ว่าจะปวดถ่ายหรือไม่ก็ตามครับ เช่น ตื่นเช้ามาไปนั่งส้วมก่อนเลย วันเเรกๆอาจไม่ปวด เเต่ทำทุกวันร่างกายจะชิน เเละปรับเวลาขับถ่ายได้ครับ
ให้ดื่มน้ำวันละ6-8เเก้ว กินอาหารที่มีกากใย ผักผลไม้ครับ
ยาโดยทั่วไป ซื้อได้ตามร้านขายยาครับ เช่น Senokot , Mucillin ,MOM Lactulose ปรึกษาคุณเภสัชกรก่อนได้ครับ
แต่ควรไปพบเเพทย์ทันทีหากมีอาการ ปวดท้องมาก เลือดออกมาก จนหน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลียมาก หรือ มีอาการปวดก้นรุนเเรงครับ
(เเนะนำพบเเพทย์สาขาศัลยกรรมทั่วไป หรือ ศัลยกรรมทวารหนักครับ ถ้ารักษาด้วยการกินยา หรือปรับพฤติกรรมเเล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องผ่าตัดหูรูดทวารหนักครับ)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีครับ เกริ่นก่อนว่าอาการนี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อ 2-3ปี และปัจจุบันมันกลับมาครับ อาการคือถ่ายอุจจาระมีเลือดแดงสดหยดตามมา และหยุดเมื่อถ่ายเสร็จ เคยไปพบแพทย์เมื่อ 2-3ปีที่แล้วที่กล่าวข้างต้น ทั้งรพ.เอกชน และรพ.รัฐครับ ผลออกมาจากการตรวจแบบใช้นิ้ว และเครื่องมือถ่าง คุณหมอทั้งสองรพ.ยืนยันเหมือนกันว่า ไม่ได้เป็นริดสีดวง แต่มีอาการคล้ายกับอุจจาระบาดก้นครับ สิ่งที่ได้มาคือยาเหน็บดูพร็อค และไฟเบอร์มูซิลินครับ หลังจากเหน็บยา และทานไฟเบอร์เลือดก็ไม่ไหล มีอาการเจ็บนิดๆบางครั้งครับ บางครั้งไม่เจ็บแต่มีเลือดไหล คำถามคือเมื่อสองวันก่อนอาการเดิมกลับมาโดยมีเลือดหยดหลังถ่าย ร่วมกับอาการเจ็บเล็กน้อย จึงไปซื้อยาตามที่เคยทาน อาการก็หายไป แต่ผมอยากทราบว่า ไฟเบอร์นี้ทานระยะยาวมีผลต่อร่างกายหรือไม่ครับ? และอยากรักษาให้หายเจ็บแต่จบมีวิธีใดบ้างครับ? เพราะเวลาเห็นเลือดแล้วจิตตกครับ ไม่อยากอาหาร ไม่อยากถ่าย ใช้ชีวิตไม่มีความสุขครับ โดยส่วนตัวเรื่องดื่มน้ำเป็นคนดื่มน้ำเยอะอยู่แล้วครับ แต่ผักผลไม้จะน้อยหน่อย เกริ่นยาวเลยครับ ขอบคุณครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)