April 10, 2018 03:24
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
ก่อนอื่นเลย เราอาจจะต้องพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดบุตรต่างๆก่อนค่ะ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ จะบอกความสามารถของการมีบุตร ได้แก่
1.อายุของฝ่ายหญิง
ฝ่ายหญิงที่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี จะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการมีบุตรได้สูงสุด และหลังจากนั้นโอกาสของการตั้งครรภ์จะค่อยๆลดลง ตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นหากคู่สมรสที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และพยายามมีบุตรมาเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน ก็ควรได้รับการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยากได้
2.อายุของฝ่ายชาย
ในคู่สมรสที่ฝ่ายชายมีอายุ 55 ปี ขึ้นไป จะมีความผิดปกติของอสุจิมากขึ้น
3.ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์
ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ มีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากอสุจิที่สร้างขึ้นมาใหม่มีคุณภาพดีและแข็งแรงกว่าอสุจิที่สร้างมานานแล้ว และตัวอสุจิจะสามารถมีชีวิตอยู่ในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิงได้ประมาณ 2 วัน ดังนั้นความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมคือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
4.ระยะเวลาของการแต่งงาน
ในระยะเวลา 18 เดือนแรกของการแต่งงาน อัตราการตั้งครรภ์สะสมจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 60, 80 และ 90 หลังการแต่งงาน 6 เดือน 12 เดือน และ 18 เดือนตามลำดับ แต่หลังจากนั้นหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อาจเกิดจากสาเหตุของการมีบุตรยาก ซึ่งต้องการการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ว่าเข้าข่ายการมีบุตรยากหรือไม่ค่ะ โดยคำนิยามของภาวะมีบุตรยากก็คือ
การที่คู่สมรสไม่สามารถมีการตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลา 1 ปี (1) หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป (2)
โดยภาวะมีบุตรยาก สามารถแบ่งเป็น สอง สาเหตุค่ะ ได้แก่
ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ (Primary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่ไม่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาก่อนเลย
ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ (Secondary infertility) หมายถึง ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่เคยมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยที่ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นที่เป็นการตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดลงด้วยการแท้งหรือการคลอดก็ตาม
ดังนั้น หากว่าเราเข้าข่ายการมีบุตรยากแล้วแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอสูติกรรมค่ะ โดยจะมีแผนกการมีบุตรยากที่จะให้คำแนะนำที่ดีกับคนไข้ได้ค่ะ
อ้างอิงจาก : ภาควิชาสูตินรีเวช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
รัชนี รุ่งราตรี (พญว.)
ควรมีการเตรียมตัว ดังนี้ค่ะ
ควรมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานประเภทผักและปลามากเป็นพิเศษ
ฝ่ายหญิงควรควบคุมน้ำหนัก ให้มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 42-65 กิโลกรัม หรือมีดัชนีมวลกาย 19-22 กิโลกรัม / ส่วนสูง
ควรรับประทานกรดโฟลิก (วิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มที่ละลายในน้ำ) ทุกวัน ขนาดปริมาณ 400 – 600 ไมโครกรัม (0.4-0.6 มิลลิกรัม) (หากรับประทาน folic acid ขนาด 5 mg ให้รับประทาน วันละ 1 เม็ด) เพราะในร่างกายกรดโฟลิกมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ และมีบทบาทในการสร้างสารคาร์บอน ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของดีเอ็นเอในการถ่ายทอดคำสั่งทางพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก
หลีกเลี่ยงการใช้ยา ฝ่ายหญิงต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์ เช่น ยาแก้สิว และ ควรงดการสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สมทรง นิลประยูร (นพ.)
ขออนุญาตเสริมครับ นอกจากคุณภรรยาต้องเตรียมตัว หมอขอแนะนำให้คุณสามีคู่ของคุณก็มีบทบาทสำคัญต่อการตั้งครรภ์เช่นกัน และเขามีส่วนช่วยได้ด้วยการ
ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนให้น้อยลง
ผ่อนคลายและลดความเครียด
อยู่ห่างจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย:เพราะสารเคมีบางอย่างมีผลกระทบต่ออสุจิ
ป้องกันไม่ให้ “ของสำคัญ” ร้อนและอับเกินไป:ควรใส่กางเกงชั้นในผ้าฝ้ายที่สบายตัวและกางเกงที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป
ส่งเสริมให้คนรักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์: ทานผักและผลไม้มากๆ รวมทั้งที่มีวิตามินซีให้เพียงพอซึ่งจำเป็นต่อการผลิตอสุจิที่แข็งแรง ควรทานอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ไข่ และขนมปังข้าวไรย์ซึ่งมีแร่ธาตุสังกะสีสามารถช่วยเพิ่มความเป็นชายได้มากขึ้นและผลิตภัณฑ์จากนมที่ให้แคลเซียมเนื้อวัวและถั่วที่มีธาตุเหล็กก็ควรมีอยู่ในเมนูอาหารประจำวันด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หนูอยากมีลูกเราต้องทำยังไงค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)