April 10, 2020 15:09
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
- ถ้าไม่ได้มีประวติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อชัดเจน เช่น ยืนคุยกับผู้ติดเชื้อระยะใกล้ๆ อยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ เที่ยวด้วยกัน หมอว่าโอกาสติดนั้นน้อยๆมากๆครับ จนไม่คุ้มที่จะต้องไปตรวจ เพราะไปตรวจอาจต้องจ่ายเงินเอง(ไม่เข้าเกณฑ์) เเละเพิ่มความเสี่ยงสัมผัสเชื้อเพิ่มด้วยครับ การกักตัวเเละสังเกตอาการในกรณีที่อาการเป็นไม่มากนั้น เป็นประโยชน์มากกว่าครับ
ไวรัสโควิด ติดจากได้รับเชื้อจากคนอื่น ผ่านจาก สารคัดหลั่ง ไอ จาม น้ำมูก เสมหะ ระบบทางเดินหายใจ และทางเยื่อบุ ตา จมูก
ความเสี่ยงสูง คนมีเชื้อ แล้วเราอยู่ยิ่งใกล้น้อยกว่า 1เมตร ห้องแคบ อากาศไม่ถ่ายเท ยิ่งเพิ่มโอกาสติดโรค เวลาคนมีเชื้อไอ เชื้อจะแพร่กระจายได้
อาการหลักๆ คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามลำตัว ระยะฟักตัว 2-14 วัน เฉลี่ย 5 วัน
- เเนะนำให้ ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลเเอลกอฮอล์บ่อยๆ ลดการสัมผัสหน้า ใส่หน้ากากอนามัยเเบบผ้าหรือเเบบทางการเเพทย์ หลีกเลี่ยงไปที่ชุมชนครับ เพราะเชื้อนั้นติดทางละอองฝอย ละอองน้ำลาย เข้าสู่ทางเดินหายใจ หรือเยื่อบุตาครับ
- ถ้าอาการเป็นเยอะ ค่อยไป รพ.ครับ เช่น ไข้สูง หายใจหอบเหนื่อย กินไม่ได้อ่อนเพลีย ไม่ไหว
- กรดไหลย้อน ไม่เกี่ยวกับวิตามินซีครับ กรดไหลย้อน
อาการคือ จุกแน่นลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว เเสบร้อนหน้าอก เป็นมากเวลากินเสร็จเเล้วนอนทันที ถ้าอาการประมาณนี้น่าจะใช่ครับ เบื้องต้นปรึกษาเภสัชกรเรื่องยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ เช่น Omeprazole Gaviscon Gasmotin Gastrobismol เป็นต้นครับ ถ้าไม่ดีขึ้น ให้พบเเพทย์ครับ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ที่สามารถทำให้โรคกรดไหลย้อนดีขึ้นได้
- การนอนยกหัวให้สูงขึ้น ประมาณ 6-8 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร ประมาณหมอน1-2ใบครับ จะช่วยบรรเทาอาการได้โดยเฉพาะคนที่มีอาการมากในเวลากลางคืน
- การนอนตะแคงด้านซ้าย จะเกิดอาการได้น้อยกว่านอนหงายหรือนอนตะแคงขวาครับ
- หลีกเลี่ยงการนอนหลังรับประทานอาหารทันที ควรเว้นเวลาหลังมื้ออาหารประมาณ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ให้ทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่เพิ่มจำนวนมื้อได้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสจัด ชา กาแฟ chocolate มะเขือเทศ หัวหอม กระเทียม มินต์
- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และงดสูบบุหรี่
- ลดน้ำหนัก
- หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้า กางเกงที่รัดแน่นเกินไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการเจ็บหน้าอกเพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นอากที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดครับ ถ้าหากไม่ได้มีไข้หรือประวัติการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนติดเชื้อมาก่อน ก็ยังไม่จำเป็นต้องตรวจหาการติดเชื้อครับ
อาการเจ็บหน้าอกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- อาการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือกระดูกซี่โครง จะทำให้มีอาการเข็บในระดับตื้นๆ มีจุดกดเจ็บชัดเจน อาการเจ็บมักสัมพันธ์กับการขยับตัวเปลี่ยนท่ามาง
- กรดไหลย้อน จะทำให้มีอาการแสบร้อนกลางอก เรอบ่อย เรอเหม็นเปรี้ยว จุกแน่นคอ อาการจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ และจะเป็นในตอนนอนมากกว่าตอนนั่งหรือยืน
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะทำให้มีอาการเจ็บแน่นกลางอกเหมือนมีอะไรมากดทับ อาจมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอด้านซ้ายหรือไหล่ซ้ายได้
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์อายุรกรรมเพื่อตรวจประเมินอาการเจ็บหน้าอกให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คุณหมอคะหนูเจ็บหน้าอกขวาแบบจิ๊ดๆแบบเป็นๆหายๆมา2-3วันแล้วค่ะ แล้วก็มีเสมหะใสๆเหนียวๆมากๆเหมือนอยู่แถวๆในคอด้านขวาด้วยค่ะ เวลานอนตะแคงขวาหรือออกกำลังกายหรือใช้แขนขวาหนักๆแถวๆอกขวามันก็จะจิ๊ดๆค่ะ บางวันก็ปวดหัวด้านซ้าย ตอนนี้กังวลมากค่ะว่าจะเป็นโควิดรึเปล่า แต่ค่าตรวจก็แพงเกินกำลังค่ะTT อาการหนูเสี่ยงมากเลยมั้ยคะแต่หนูแทบจะไม่ได้ไปไหนเลยแถมใส่แมสก์ตลอดด้วย แล้วก็ถ้าเป็นกรดไหลย้อนสมารถกินวิตามินซีหลังกินข้าวได้มั้ยคะ อาการกรดไหลย้อยจะกำเริบหรือเปล่า แล้วตอนนี้รพ.รัฐแผนกตรวจโรคทั่วไปยังเปิดอยู่มั้ยคะหรือปิดกันหมดแล้ว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)