April 29, 2020 01:02
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
โดยปกติแล้วยาไอซ์จะสามารถตรวจพบได้จาก
- การตรวจเลือดไม่เกิน 1 วัน
- การตรวจปัสสาวะได้ไม่เกิน 3-7 วัน
- การตรวจเส้นผมไม่เกิน 3 เดือน
โดยที่ไม่ได้มีวิธีใดที่จะเร่งให้ร่างกายกำจัดยาไอซ์ออกมาได้เร็วขึ้นครับ
โดยปกติแล้ววิธีการที่จะใช้ตรวจคัดกรองหาสารเสพติดต่างๆจะใช้การตรวจทางปัสสาวะเป็นหลักเพราะเป็นวิธีการที่ใช้บ่งบอกถึงพฤติกรรมการใช้ในปัจจุบันครับ ดังนั้นถ้าหากหยุดใช้ยาไอซ์มาเกิน 1 สัปดาห์แล้วหมอก็คิดว่าไม่ต้องกังวลแล้วครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ
การขับของยาไอซ์ขึ้นกับตัวผู้สูบ ความถี่ในการสูบ ปริมาณและระยะเวลาในการสูบ กรณีที่ตรวจด้วยปัสสาวะจะพบได้ 3-6 วันหลังเสพ หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ ส่วนถ้าตรวจด้วยเส้นผมจะพบได้ถึง 3 เดือนหลังเสพ กรณีจะไปเกณฑ์ทหาร และได้เลิกเสพมานานเป็นเดือนจะไม่พบสารแล้วค่ะ เพราะส่วนมากจะตรวจจากปัสสาวะเป็นหลัก ดังนั้นไม่ต้องกังวลไปค่ะ แต่หมอไม่แนะนำให้กลับไปเสพอีก กรณีมีอาการถอนยาหรือาการผิดปกติหลังเสพ ถ้าอาการนั้นรบกวนต่อชีวิตประจำมาก แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อบำบัดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากปรึกษาคุณหมอค่ะ แฟนเสพยาไอซ์แบบฉีดเข้าเส้นเลือด อาทิตย์ละเข็ม ตอนนี้เลิกมาได้เกือบเดือนแล้วค่ะ อยากจะทราบว่าถ้าบำบัดเองที่บ้านใช้เวลานานมั้ยค่ะกว่าร่างกายจะขับสารเสพติดออกหมด หรือออกจนไม่สามารถตรวจเจอได้ เพราะใกล้ช่วงที่แฟนต้องเกณฑ์ทหาร และนอกจากดื่มน้ำเยอะๆให้สารขับออกทางปัสสาวะแล้ว มีวิธีอื่นช่วยด้วยมั้ยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)