May 23, 2020 18:23
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
หากอาการปวดประจำเดือนเป็นมากจนทำงานไม่ไหว ร่วมกับมีอาการอื่น เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจคิดถึงภาวะปวดประจำเดือนที่มีสาเหตุจำเพาะ(Secondary dysmenorrhea) เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกเเลตซีสต์) เป็นต้นครับ เเนะนำพบสูตินรีเเพทย์
เบื้องต้นคือ นอนพัก รับประทานยาเเก้ปวด เช่น Ponstan Naproxen ,วางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก หรือออกไปเดินเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะพอช่วยได้ครับ การกินยาเเก้ปวด ควรกินก่อนประจำเดือนมา คือ กินก่อนที่จะปวด\กินตอนปวดน้อยๆ จะช่วยลดปวดได้ดีกว่าครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ถ้ามีอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือนเฉพาะวันแรกๆก็เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายในช่วงที่มีประจำเดือนครับ ซึ่งถ้าปวดมากๆก็ให้รับประทานยา Ponstan บรรเทาอาการได้โดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ครับ
แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องที่รุนแรงและนานผิดปกติก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะ คุณหมอ หนูจะสอบถามค่ะ พอดีหนูอายุ17ค่ะ ประจำเดือนมาปกติทุกเดือนแต่จะปวดท้องหนักมากช่วงวันแรก หนักที่แบบปวดหลังปวดขา เวียนหัว บางเดือนก็คือ กินไรก็เหมือนจะอาเจียนอะค่ะ แต่พอวันที่ต่อไปก็อาการเป็นปกติค่ะ ไม่ปวดเลย แต่จะปวดมากๆตามที่เล่าอาการไปในวันแรกที่ประจำเดือนมา แต่อาการปวดท้องหนักแบบนี้ไม่ได้ทั้งวันทั้งคืนนะคะ เท่าที่สังเกตุมาทุกเดือนอาการจะเป็นแค่ครึ่งวันได้ค่ะ คืออาการแบบนี้ปกติมั้ยคะ หรือควรพบแพทย์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)