March 15, 2017 23:53
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
เวลาขึ้นเครื่องบินความดันภายนอกและในหูไม่เท่ากันค่ะ วิธีแก้คือให้หาวหรือกลืนน้ำลาย ปกติแล้วที่หูชั้นกลางจะมีท่อเชื่อมต่อลงไปยังคอหอยส่วนจมูก ทำให้มีการปรับความดันอากาศในหูชั้นในให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก ปกติท่อนี้จะปิดเพราะมีลิ้นที่คอหอยส่วนจมูกคอยปิด แต่เวลาหาวหรือกลืนทำให้ลิ้นนี้เปิดและปรับอากาศได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
หูอื้อ ปวดหู เวลาขึ้นเครื่องบิน เกิดจาก ความดันอากาศภายนอก และภายในร่างกาย แตกต่างกัน
โดยปกติ ร่างกายเรามีท่อยูสเตเชียน ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลาง และโพรงหลังจมูก ทำหน้าที่ช่วยปรับความดันของหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก
เวลาขึ้นลิฟท์ หรือลงลิฟท์เร็วๆ หรือเครื่องบินขึ้น หรือลงเร็วๆ อาจเกิดอาการหูอื้อ ปวดหู มีเสียงดังในหู หรือเวียนศีรษะ บ้านหมุน ได้
1. เวลาเดินทาง ควรป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด
2. ถ้ามีอาการทางจมูก เช่น คัน, จาม, คัดจมูก, น้ำมูกไหล และจำเป็นต้องขึ้นเครื่องบิน ควรใช้ยาแก้แพ้ ก่อนเครื่องบินขึ้น หรือลงประมาณ ½ ชั่วโมง และ/หรือใช้ยาหดหลอดเลือด พ่นจมูกก่อนเครื่องบิน ขึ้น หรือลงประมาณ 5 นาทีด้วย
3. นอกจากนั้น ควรทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงานเปิด ปิดอยู่ตลอด ระหว่างเครื่องบินขึ้นหรือลง เช่น
• เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อให้มีการกลืนน้ำลายบ่อย ๆ ซึ่งขณะกลืนน้ำลาย จะมีการเปิดและปิดของท่อยูสเตเชียน
• ทำ บีบจมูก 2 ข้าง และกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง (ท่อยูสเตเซียนจะปิด) และเอามือที่บีบจมูกออก และกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง (ท่อยูสเตเซียนจะเปิดและปิด)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สอบถามหน่อยนะคะ คือเวลาดิฉันนั่งเครื่องบินแล้วเกิดอาการหูอื้อ ควรทำยังไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)