July 30, 2020 13:29

คืออยากปรึกษาค่ะ แต่ก่อนเป็นเด็กเรียนมากกก เวลาจะทำคะแนนจะต้องได้เต็ม คือกดดันแบบนี้ อ่านอะไรจำได้เป็นอาทิตย์ๆ ตั้งใจทำจริงจัง แต่พอโตมา อยู่สุขภาพจิตก็เปลี่ยน ไม่ชอบอ่านหนังสือ เริ่มโดดเรียน แล้วก็ไม่เข้าเรียน เหมือนรู้สึกไม่อยากเจอคนในห้องเรียน เข้าเรียนก็งงคิดตามไม่ทันเลย เหมือนไม่เข้าใจว่าเขาสื่อสารอะไรมาบ้าง คิดไม่ทัน คิดไม่ออก ชอบผัดวันประกันพรุ่งเรื่อยๆ คือรู้ว่าไม่ดีแต่ก็ยังทำ เริ่มสกปรกไม่อาบน้ำก่อนนอน ในหัวก็ชอบคิดเรื่องลบๆแล้วก็ร้องไห้ ไม่ก็คิดเรื่องขำๆก็จะเผลอยิ้ม โดนที่ค่อนข้างควบคุมอารมณ์ความรู้สึกยากก เหมือนจิตไม่ชอบการแข่งขัน ทั้งที่แต่ก่อนไม่เป็น คือตอนวัยรุ่นชอบแข่งขัน ต้องทำให้ได้คะแนนเยอะๆ แต่พอโตมารู้ไม่กดดันตัวเองอะไรเลย ก็เลยเหลวไหลคะแนนก็จะน้อย ทำอะไรก็ไม่จริงจัง ไร้แรงบันดาลใจ อ่านหนังสือ แรกๆทำเพื่ออนาคตก็อ่านๆๆ แต่พออยู่เรื่อยๆ ก็จะเริ่มไม่อ่านไม่ทำ นั่งมองหนังสือ 1หน้า ผ่านไป 3ชมก็อ่านไม่ไป อ่านหนังสืออ่านไปเสร็จให้อธิบายก็ลืมคิดไม่ออก เหมือนคุยกับคนๆนึงแล้วไม่สามารถอธิบายได้เลยว่าเขาคุยอะไรมาบ้าง ทั้งที่ตอนฟังก็เข้าใจ อ่านหนังสือก็อธิบายไม่ค่อยได้ บางทีอ่านแล้วลืม หรือเพื่อนฝากปริ้นงาน คือฟังรับทราบว่าโอเค พอเวลาผ่านไป5นาทีลงไปซื้อของ ก็ลืมว่าเพื่อนฝากปริ้นอะไร นึกก็นึกไม่ออกตอนนั้นก็เลยปริ้นผิด😅 มีอาการขี้หลงขี้ลืมบ่อยๆๆๆ อ่านหนังสือไม่จำ ทั้งที่ท่องมาแล้วว อยากถามว่าที่พูดมาเป็นอาการของโรคอะไรรึเปล่าคะ เหมือนเด็กๆหรือวัยรุ่นกว่านี้ก็ไม่เป็น เพิ่งมาคิดไรแปลกๆ ลบๆ ตอนโต แล้วก็ชีวิตเหลวไหล ชอบคิดทำผิด ทั้งที่รู้ว่าไม่ดีเช่นโดดเรียนบ่อยๆจนติดเอฟ คือรู้ว่าผิดมีผลแต่ไม่อยากทำ อยากถามว่าเป็นโรคอะไร แล้วแก้ไขยังไง ปัจจุบันไปหาหมอแล้วหมอบอกเป็นเคมีในสมองไม่สมดุล แต่พอเราเล่าพฤติกรรมที่ถามในนี้ว่าเข้าข่ายสมาธิสั้น หมอก็เพิ่มยาให้เลยสงสัยว่าตัวเองเป็นอะไรกันแน่ ทำอะไรก็ไม่อดทน จิตตกกับคำพูดคนง่าย เหมือนค่อนข้างอ่อนไหวเรื่องคำพูดคน ระแวงคำหยาบเวลาคนอื่นที่ไม่รู้จักพูดๆกันแล้วเราได้ยิน สภาพครอบครัวคือพ่อแม่แยกทางกันตอนโต พ่อก็ปัดภาระให้แม่หมด แล้วแม่ก็ตกงาน เราเลยยิ่งท้อแท้กับชีวิตไม่อยากทำอะไร ขี้หลงขี้ลืม ขาดความมั่นใจในตัวเอง ก่อนหน้าโดนด่าเยอะมาก เลยเริ่มวิตกกังวล โดนแขวะจากคนไม่รู้จักข้างนอก ชีวิตไม่ค่อยมั่นใจเรื่องสติปัญญาและการจดจำ

ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)