December 12, 2019 14:06
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
1.การที่คนเรามีไตข้างเดียวเเต่กำเนิดนั้นเป็นไปได้ครับเรียกว่า renal agenesis หรือ dysplasia ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด หรือ อยู่ในครรภ์มารดาครับ
2.โรคในกลุ่มไม่ติดต่อ (NCD) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ทำให้ไตเเย่ลงได้ครับ อื่นๆก็เช่น การรับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่ม NSAID ที่ใช้เเก้ปวด
ดังนั้นหากตอนนี้ได้เข้ารับการรักษาเเล้ว ก็ควรปรับพฤติกรรม รับประทานยาตามเเพทย์จ่าย ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดของเค็มจัด เเละดูเเลรักษาเรื่องความดันโลหิต ศึกษาอาหารการกิน เเบบ DASH diet เป็นต้นครับ
3.เรื่องการดูเเลรักษา ซึ่งคนไข้น่าจะมีภาวะไตเสื่อมการทำงานร่วมด้วย เเนะนำพบอายุรเเพทย์ทั่วไป หรือ อายุรเเพทย์โรคไตครับ จะเป็นที่กทม.หรือ ตามรพ.จังหวัดก็ได้ เเต่เเนะนำให้ไปตามสิทธิการรักษา จะได้เบิกค่ายาได้ครับ ยกเว้น ข้าราชการเบิกได้ทุก รพ.รัฐครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สวัสดีคะอยากสอบถามเรื่องการเป็นโรคไตจากสาเหตุเป็นความดันโลหิตสูง สูบบุ่หรี่และทานสุราและเบียร์ ความดันโลหิตสูงไม่เคยเข้ารับการรักษา ซื้อยาทานตามร้ายขายยาทั่วไป จนมาตรวจสุขภาพประจำปีจึงรู้ว่าค่าการกรองไตอยู่42 และได้เข้ารับการรักษาเบื้องต้นด้วยการทานยาความดันโลหิตสูงและยานอนหลับ และควบคุมอาหารการกิน แต่เนื่องด้วยยาความดันนั่นทำให้ค่ากรองไตต่ำลงเหลือ35 และคุณหมอบอกว่าจะลดลงอีกแต่ยาจะช่วยปรับสมดุลของร่างกายในระยะยาวและจะทำให้ค่าการกรองไตกลับขึ้นมาในระยะยาวเหมือนกันและเนื่องจากคุณหมอขอทำการเอ็กซเรย์ไตจึงพบว่าคุณพ่อมีไตเพียง1ข้างโดยที่ไม่เคยเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตใดๆเลย อยากทราบว่าคนเรานั่นมีไตเพียง1ข้างตั้งแต่เกิดได้ไหมและการสูบบุหรี่กินเหล้านั่นมีผลทำให้ไตหายไปรึเปล่า(แต่ดิฉันคิดว่าจะทำให้ไตนั่นไม่สามารถงานได้มากกว่าที่ไตจะหายไป)และอยากทราบว่าจะอันตรายไหมแล้ววิธีการรักษาจะเป็นอย่างไร และควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพหรือไหม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)