September 18, 2017 12:05
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
คงเป็นแผลเป็นที่เรียกว่า คีลอยด์ แผลเป็นคีลอยด์เกิดจากกระบวนการรักษาแผลที่คอลลาเจนถูกสร้างขึ้นมากเกินปกติ ทำให้เนื้อเยื่อของแผลเป็นที่เกิดขึ้นเติบโตจนเกินขอบเขตของรอยแผลเดิมและอาจขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ได้ ลักษณะของแผลเป็นคีลอยด์คือ มีรอยนูนขึ้นจากผิวหนัง ผิวเป็นมันเงาไม่มีขนขึ้นที่แผล ในระยะแรกของแผลจะมีสีแดงหรือม่วง หลังจากนั้นสีจึงค่อยๆ ซีดลงไป ผิวสัมผัสจะให้ความรู้สึกแข็งๆ คล้ายยางและในบางบริเวณก็อาจเกิดเป็นก้อนนุ่มๆ ได้ จากนั้นมักจะมีอาการคัน เจ็บ แสบร้อน หรือหากแผลตึงและเกิดใกล้ข้อต่อก็อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวได้ด้วย วิธีการรักษาแผลเป็นจะขึ้นอยู่กับลักษณะประเภทและอายุของแผลเป็น มีตั้งแต่การใช้เจลแปะ ใช้ยาทาหรือยาฉีด ไปจนถึงการผ่าตัดค่ะ ดังนั้นควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจอาการดูลักษณะของแผลแล้วคุณหมอจะแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่เหมาะกับรอยแผลนั้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชุลีกร วรยิ่งยง (พ.ญ.)
การรักษาแผลคีลอยด์ที่ได้ผลดีคือการฉีดยาเพื่อลดขนาดของคีลอยด์ซึ่งอาจต้องทำหลายครั้ง การทายาแล้วถูนวดบ่อยอาจเป็นตัวกระตุ้นให้คีลอยด์โตหรือขยายขนาดขึ้นได้ การใช้แผ่นซิลิโคนแปะช่วยเสริมการรักษาโดยฉีดยาได้ การผ่าตัดเพื่อรักษาแผลคีลอยด์อาจทำให้เกิดแผลคีลอยด์ที่ใหญ่กว่าเดิมได้ นอกนั้นยังสามารถใช้เลเซอร์เพื่อช่วยลดขนาดและความแดงของคีลอยด์เสริมการฉีดรักษาได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีอาการคันแผลเป็นที่เคยผ่าซีสต์ที่สะโพกค่ะ ผ่ามาปีกว่าๆแล้ว แผลนูนคันตลอด ตอนแรกคิดว่ารอไปก็จะหายเองแต่นี่ก็ผ่านมานานแล้ว พยายามนวดๆไม่เกา บางทีก็กดเจ็บด้วยค่ะ ผ่าคราวนั้นมาสองจุด แต่คันบวมแค่จุดนี้จุดเดียวค่ะ ปล.ใช้ไหมละลาย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)