January 07, 2020 13:59

คำถามด่วน

สวัสดีค่ะคุณหมอจักษุ อยากปรึกษาเรื่องต้อหินของคุณแม่ค่ะ -คุณแม่อายุ64ปี -เมื่อวันที่31ธค.ที่ผ่านมา มีอาการตาแดงและพร่ามัว1ข้าง จึงได้ไปพบคุณหมอที่รพ.สำโรง(ประกันสังคม) คุณหมอตรวจและวินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นต้อหิน ความดันลูกตาสูงวัดได้55 จึงสั่งจ่ายยาหยอดตาเพื่อลดความดันลูกตา และนัด1สัปดาห์เพื่อติดตามผล -ผ่านไป4วัน อาการคุณแม่ยังไม่ดีขึ้น มีอาการตาแดง และคัน จึงไม่สบายใจเพราะคุณหมอรพ.สำโรงนัดดูอาการจากวันที่หาถึง1สัปดาห์ หนูจึงพาคุณแม่ไปพบหมอที่รพ.จักษุรัตนิน(วันที่4มค.แบบจ่ายเอง) -คุณหมอตรวจละเอียดและวัดความดันลูกตาได้45 และวินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นต้อหินแบบมุมปิด ซึ่งเกิดจากกรรมพันธ์ และระดับการมองเห็นคุณแม่เหลือเพียง10% คุณหมอแจ้งว่าควรรักษาโดยการผ่า ถ้าปล่อยทิ้งไว้อีกไม่เกิน2เดือนการมองเห็นคุณแม่จะบอดสนิท จึงทำการนัดผ่าวันที่8มค. และมีการตรวจความพร้อมก่อนผ่าเบื้องต้น -ผลการตรวจคุณหมอแจ้งว่าคุณแม่มีเกร็ดเลือกต่ำ จึงให้กลับไปรพ.เดิม(สำโรงการแพทย์) เพื่อขอให้คุณหมออายุรกรรมประเมินว่าสามารถผ่าได้มั๊ย คุณหมอทางรพ.ประเมินว่าค่าเกร็ดเลือดนี้ระดับขึ้นลงเป็นปกติ ไม่มีผลใดๆ สามารถผ่าได้ -จึงแจ้งเรื่องกับทางรพ.สำโรงว่าจะทำการรักษาโดยการผ่ากับรพ.จักษุรัตนิน แต่คุณหมอทางรพ.สำโรงมีความเห็นว่าการผ่าต้อหินมีความเสี่ยง และยิ่งสำหรับผู้มีความดันลูกตาสูง จึงควรรักษาโดยการใช้ยาหยอดก่อน อาจจะมีการปรับเปลี่ยนยา คุณหมอแนะนำให้ใช้ยาหยอดเพื่อดูอาการก่อนยังไม่แนะนำให้ผ่า 1.จึงอยากทราบความเห็นคุณหมอ ว่าจากอาการที่แจ้งมาคุณหมอมีความเห็นว่าอย่างไร 2และการผ่าต้อหินมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง 3 อยากทราบ%การรักษาโดยการผ่า ว่ามีสัดส่วนโอกาสที่จะเป็น+ /- สัดส่วนอย่างไร 4.การผ่าจะส่งผล+ในระยะยาวหรือไม่ (เช่น เมื่อเปิดทางระบายน้ำแล้ว จะทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาท่อน้ำอุดตันในอนาคตตลอดไป) 5.ถ้าใช้วิธีการหยอดตาเพื่อลดความดัน แล้วอาการดีขึ้น ช้า-เร็วคุณแม่ก็ต้องผ่าต้อหรือไม่อย่างไร 6.ถ้าใช้วิธีการหยอดตาเพื่อลดความดันแทนที่จะผ่าเลย แล้วได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร จะทำให้เสียเวลาในการรักษา และการมองเห็นลดลงหรือไม่อย่างไร เพราะหนูมีความกังวลมากค่ะ กลัวคุณแม่จะการมองเห็นลดลงถ้าปล่อยไว้ แต่ก็ไม่รู้ว่าการตัดสินใจแบบไหนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ฝากคุณหมอช่วยวิเคราะห์ด้วยนะคะ

ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)