ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ที่ต้องทำความเข้าใจใหม่

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ที่ต้องทำความเข้าใจใหม่

การออกกำลังกาย กำลังเป็นเทรนที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง หรือปั่นจักรยาน แต่ก็ยังมีข้อเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ที่เราควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

ออกกำลังกายทำให้กินเยอะขึ้น?

ข้อนี้ไม่จริงอย่างยิ่ง การที่เรารับประทานเยอะหลังออกกำลังกาย เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลหรือเฉพาะกลุ่ม ซึ่งอาจจะเกิดจากวลีที่ว่า ออกกำลังกายแล้วกินอะไรก็ได้ แต่การกินเยอะขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นผลกระทบโดยตรงจากการออกกำลังกายอย่างแน่นอน แต่หากใครมีปัญหาในเรื่องนี้ คำแนะนำคือให้ดื่มน้ำเยอะหลังออกกำลังกาย จะช่วยให้ลดการโหยหลังจากออกกำลังกายได้อย่างแน่นอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อายุเยอะไม่ควรออกกำลังกาย?

เป็นความเชื่อที่ถูกเพียงครึ่งเดียว คือไม่ควรหักโหมเหมือนตอนเป็นวัยรุ่น แต่จริงๆแล้วก็มีการออกกำลังกายที่เหาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่นการแกว่งแขน การเดิน เป็นต้น ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายอย่างถูกวิธีจะมีสุขภาพแข็งแรงกว่าคนที่อยู่เฉยๆอย่างแน่นอน

ออกกำลังกายทำให้กล้ามใหญ่?

หลายๆคนไม่กล้ามาออกกำลังกายโดยเฉพาะการยกเวท เพราะกลัวจะกล้ามใหญ่ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก การออกกำลังกายส่วนใหญ่ช่วยให้กระชับเสียมากกว่า และที่สำคัญกว่านั้นคือคนที่มีกล้ามใหญ่ แบบชัดเจน เขาต้องยกเวทหนักๆ กินโปรตีนในปริมาณที่มากกว่าปกติจึงจะมีกล้ามที่ใหญ่ เพราะฉะนั้นคนที่ออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ใช่การยกเวท ไม่ต้องกังวลเรื่องกล้ามใหญ่อย่างแน่นอน

ออกกำลังกายโดยไม่ดื่มน้ำจะช่วยฝึกการอดทน?

ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เป็นความเชื่อที่ผิด และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เพราะอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงนั่นเอง การออกกำลังกายเราควรได้จิบน้ำอย่างน้อยสิบห้าหน้าที่ต่อครั้ง ในกรณีที่สามารถทำได้ และควรดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนทำการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายขณะท้องว่างจะช่วยเผาผลาญไขมันได้ดี?

จริงๆแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด การจะเผาผลาญได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับระดับการออกกำลังกายของเราว่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้การออกกำลังกายขณะท้องว่าง เราจะไม่ค่อยมีแรง และยัง เสี่ยงต่ออาการขาดน้ำตาล หรือเป็นลมไปขณะออกกำลังกายได้อีกด้วย และที่ถูกต้องคือต้องกินให้น้อยกว่าที่เผาผลาญ ไขมันและน้ำหนักจึงจะลดลง

เมื่อเหนื่อยมากๆ ควรหยุดพักทันที?

เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ถือว่าอันตรายมากๆ เพราะการหยุดทันทีหลังจากออกกำลังกายหนักๆ ส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตได้เลย เมื่อเรารู้สึกเหนื่อยจัดเราควรค่อยๆผ่อนการออกกำลังกายลงที่ละน้อย เช่นจากวิ่งลงมาเป็นเดินก่อนจะหยุด เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บ และหากใครมีอาการหน้ามืดขณะออกกำลังกาย ไม่ควรให้นั่งหรือพยุงกันออกไป ควรไปให้นอนราบ ยกปลายเท้าให้สูงขึ้นเล็กน้อยจึงเป็นการช่วยเหลือที่ถูกต้อง

ก่อนออกกำลังกายควรดื่มกลูโคส?

จริงๆแล้วการดื่มกลูโคสก่อนออกกำลังกาย จะทำให้ความสามารถในการออกกำลังกายของเราลดลง การทานกลูโคสใช้สำหรับการแข่งขันในระยะสั้น ที่ไม่ต้องใช้เวลานาน เพราะการดื่มกลูโคส จะทำให้ความสามารถในการดึงพลังงานออกมาใช้ลดลง ซึ่งจะทำให้เราไม่สามารถออกกำลังกายเป็นระยะเวานานได้นั่นเอง

กินเนื้อเยอะขึ้น ทำให้พลังเยอะขึ้น?

เป็นความเชื่อที่ผิดมากๆ เพราะโปรตีนไม่ใช่แหล่งพลังงานที่ดี นอกจากนี้การที่เราได้รับโปรตีนเกินความจำเป็นร่างกายก็จะขับออกมากในรูปของปัสสาวะอยู่ดี

สตรีมีครรภ์หรือประจำเดือน ไม่ควรออกกำลังกาย?

อันที่จริงสามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรลดความรุนแรงลง และควรปรึกษาแพทย์ในกรณีของหญิงมีครรภ์

แม้ว่าการอออกกำลังกายจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การออกกกำลังกายไม่ถูกวิธีหรือหนักเกินไป ก็ส่งผลต่อร่างกายในทางตรงกันข้ามได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราควรออกกำลังกายแต่พอดี และถูกต้อง เราอย่าลืมเรื่องการทานอาหารให้ครบถ้วน และการพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health Tip: Don't Fall for Exercise Myths. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=199885)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม