วิตามิน อี สารมีประโยชน์ที่ควรรู้ไว้ก่อนใช้

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิตามิน อี สารมีประโยชน์ที่ควรรู้ไว้ก่อนใช้

วิตามิน อี (Vitamin E) หรือ Tocopherol เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน และมีความสำคัญมากในกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย วิตามิน อี พบได้ทั่วไปในอาหาร เช่น ผักผลไม้หลายชนิด ธัญพืช น้ำมันพืช และเนื่องจากสามารถละลายได้ดีในไขมัน วิตามิน อี จึงถูกเก็บสะสมในร่างกาย และถูกดึงมาใช้เมื่อจำเป็นได้ วิตามิน อี นั้นมีประโยชน์มากมาย แต่ในขณะเดียวกันการรับวิตามิน อี อย่างไม่เหมาะสมก็อาจให้ผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายเราได้เช่นกัน

ประโยชน์ของวิตามิน อี

  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายและเสื่อมสภาพ
  • ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูก จึงสามารถบรรเทาภาวะโลหิตจางได้
  • ช่วยขยายหลอดเลือด และลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยลดอาการปวดข้อได้ดี
  • ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม และยับยั้งอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
  • ช่วยบรรเทาอาการบวมอักเสบตามส่วนต่างๆ
  • ช่วยลดภาวะซึมเศร้า ลดความวิตกกังวล และบรรเทาอาการ PMS ในผู้หญิงก่อนมีประจำเดือนได้
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย อีกทั้งช่วยลบเลือนจุดด่างดำ ฝ้า กระ และรอยแผลเป็น

รับวิตามิน อี ได้อย่างไรบ้าง?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • รับวิตามิน อี จากอาหาร

วิตามิน อี นั้นพบได้ทั่วไปในอาหารที่เราทาน โดยอาหารที่มีวิตามิน อี สูง ได้แก่ น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดฝ้าย ซึ่งมีวิตามิน อี ถึง 14-40 IU/100 กรัม รวมถึงในถั่วและธัญพืช เช่น อัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ข้าวสาลี ผักใบเขียว และผลไม้ เช่น ปวยเล้ง อะโวคาโด เป็นต้น

  • ทานอาหารเสริมวิตามิน อี

วิตามิน อี เสริม มีทั้งในรูปแบบเม็ดและน้ำ ซึ่งมักใช้ในผู้ที่ขาดวิตามิน อี การทานอาหารเสริมวิตามิน อี ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะการทานอย่างไม่ระมัดระวังอาจเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง คนที่มีคอเลสเตอรอลสูง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน นอกจากนี้ การทานวิตามิน อี ปริมาณมากก็อาจส่งผลต่อฤทธิ์ของยาบางชนิดได้ เช่น ยา Wafarin และยารักษาโรคอ้วน เป็นต้น

  • ทาผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามิน อี บนผิวหนัง

สำหรับคนที่ต้องการใช้วิตามิน อี เพื่อบำรุงผิวพรรณเท่านั้น และไม่ต้องการให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบอื่นๆ สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของวิตามิน อี ได้ เช่น ครีม ซีรั่ม โฟมล้างหน้า ซึ่งวิตามิน อี จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้งและหยาบกร้าน อีกทั้งยังช่วยลดรอยแผลเป็น จุดด่างดำ และช่วยปกป้องผิวจากการอักเสบระคายเคืองได้

ปริมาณการใช้วิตามิน อี

ปริมาณการรับวิตามิน อี (โดยการทาน) ที่เหมาะสมกับคนแต่ละวัย เป็นดังนี้

  • คนอายุไม่เกิน 1 ปี   
    ให้รับประทานไม่เกิน 5 IU ต่อวัน
  • คนอายุ 1 - 8 ปี            
    ให้รับประทานไม่เกิน 6-7 IU ต่อวัน
  • คนอายุ 9 - 12 ปี             
    ให้รับประทานไม่เกิน 8-11 IU ต่อวัน
  • คนอายุ 13 ปีขึ้นไป         
    ให้รับประทานไม่เกิน 15 IU ต่อวัน

ข้อควรระวังในการใช้วิตามิน อี

แม้การทานวิตามิน อี เกินขนาด จะยังไม่พบความเป็นพิษรุนแรง แต่ก็อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เช่น มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดท้อง มีเลือดออกง่าย พบจุดเลือดหรือรอยช้ำใต้ผิวหนัง รวมถึงในบางคนอาจเกิดการแพ้วิตามิน อี จนมีผื่นขึ้นตามตัว หายใจลำบาก หน้าและริมฝีปากบวม ซึ่งเป็นอาการที่อันตรายมาก ดังนั้น การทานวิตามิน อี เสริมจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน และหากพบอาการผิดปกติก็ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The 10 best foods high in vitamin E. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324308)
Vitamins and minerals - Vitamin E. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/vitamins-and-minerals/vitamin-e/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป